ยาแพกซ์โลวิด (Paxlovid) ลดอัตราเสียชีวิตกลุ่มเสี่ยงสูงได้เกือบ 90%

ยาแพกซ์โลวิด (Paxlovid) ลดอัตราเสียชีวิตกลุ่มเสี่ยงสูงได้เกือบ 90%

ช่วงต้นปี 2565 ประเทศไทยมียาต้านไวรัสใช้รักษาผู้ป่วยโควิด 19 อยู่ 3 ชนิด ได้แก่ ยาฟาวิพิราเวียร์ ยาเรมเดซิเวียร์ ยาโมลนูพิราเวียร์ และกำลังจะมียาตัวใหม่ที่กำลังนำมาใช้ คือ ยาแพกซ์โลวิด ที่กระทรวงสาธารณสุขสั่งซื้อมา 50,000 คอร์สในช่วงสงกรานต์ปี 2565 เพื่อรักษากลุ่มเสี่ยงสูงที่อาจเพิ่มจำนวนมากในช่วงปลายเดือนเมษายนถึงต้นเดือนพฤษภาคม มาทำความรู้จักยาชนิดนี้กันค่ะ

 

* บทความนี้จัดทำเพื่อแจ้งข่าวสารเกี่ยวกับยารักษาโควิด-19 เท่านั้น ทางฟาสซิโนไม่ได้วางจำหน่ายยาชนิดนี้ ไม่มีจำหน่ายทั้งหน้าร้านยาหรือช่องทางออนไลน์ *

 

ยาแพกซ์โลวิด

ยาแพกซ์โลวิด (Paxlovid) จัดอยู่ในประเภท “โปรตีเอส อินฮิบิเตอร์ (Protease Inhibitor)” แบบเดียวกับยารักษา HIV มีสรรพคุณที่สามารถย่อยสลายโปรตีนได้ โดยแพกซ์โลวิดจะย่อยสลายเอนไซม์ที่โควิด-19 ใช้ในการแบ่งตัวและแพร่พันธุ์ รวมถึงสลายโปรตีนหนามของโควิด-19 ซึ่งเป็นส่วนที่ไวรัสใช้ในการยึดเกาะและแพร่เชื้อในจมูก ลำคอ และปอด

ยานี้ประกอบด้วย

  • ยา Nirmatrelvir (150 มก.) จำนวน 2 เม็ด
  • ยา Ritonavir (100 มก.) จำนวน 1 เม็ด

วิธีรับประทาน

  • วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 5 วัน (ใช้ Nirmatrelvir 20 เม็ด และ Ritonavir 10 เม็ด/คน)

ต้นทุนการรักษาประมาณ 10,000 บาทต่อคอร์ส

ผลการทดสอบ ข้อมูลจากการศึกษาวิจัยในผู้ป่วย 1,379 คน พบว่า ยาแพกซ์โลวิดช่วยลดความเสี่ยงการนอนโรงพยาบาลหรือเสียชีวิตลงได้ 88% เมื่อผู้ป่วยได้รับยาภายใน 5 วันนับตั้งแต่เริ่มมีอาการ โดยกลุ่มที่ให้ยาแพกซ์โลวิด มีการนอนโรงพยาบาลเพียง 0.77% และไม่มีผู้เสียชีวิต ส่วนกลุ่มที่ได้รับยาหลอก มีผู้ป่วยนอนโรงพยาบาล 6.31% และมีผู้เสียชีวิต 13 คน ถือว่ามีประสิทธิผลสูง

 

ยารักษาโควิดในไทย

ยาที่ใช้รักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 อยู่ 4 ชนิดด้วยกัน มีคุณสมบัติและเหมาะกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในกรณีที่แตกต่างกันไป

  1. ฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) ยาเม็ด จะให้ยา 5 วัน สำหรับคนปกติ 50 เม็ดต่อคอร์สการรักษา ถ้าเป็นผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากกว่า 90 กก.จะใช้ 64 เม็ดต่อคอร์สการรักษา เป็นยาชนิดแรกที่ถูกนำมาใช้รักษาโควิด แต่ไม่ได้ถูกผลิตเพื่อใช้กับโควิด-19 โดยตรง ต่างจากยาชนิดอื่น
  2. เรมเดซิเวียร์ (Remdesivir) ยาฉีด จะใช้สำหรับผู้ป่วยขั้นที่ 4 ซึ่งมีอาการค่อนข้างรุนแรงแล้ว คือ ปอดบวมและมีออกซิเจนน้อยกว่า 96%
  3. โมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) ยาเม็ด เหมือนกับฟาวิพิราเวียร์ ใช้ประมาณ 40 เม็ดต่อผู้ป่วยหนึ่งคน ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการน้อย
  4. แพกซ์โลวิด (Paxlovid) ยาตัวใหม่จากทาง Pfizer เหมาะกับกลุ่มเสี่ยงสูง โดยเฉพาะกลุ่ม 608 แต่เนื่องจากในไทย ยามีจำนวนจำกัด จึงไม่เหมาะที่จะใช้ในกลุ่มที่อาการน้อย

 

กลุ่มที่เหมาะกับยาแพกซ์โลวิด

ประกอบด้วยกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป, กลุ่มเสี่ยง 8 โรค และ กลุ่มที่ยังไม่ได้ฉีดเข็มกระตุ้น

  • ผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีภาวะอ้วน
  • ผู้ป่วยเบาหวาน
  • ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
  • ผู้ที่มีภูมิต้านทานร่างกายต่ำ
  • ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ
  • ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
  • ผู้ป่วยโรคมะเร็ง
  • ผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน หรือได้รับเพียง 1-2 เข็ม

 

ประสิทธิภาพของยาแพกซ์โลวิด

ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2564

 

ถึงยาแพกซ์โลวิดจะมีประสิทธิภาพสูง ช่วยชีวิตกลุ่มเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ปริมาณยามีจำกัด ไม่สามารถทานได้ทุกคน ไม่สามารถป้องกันการเสียชีวิตได้ถึง 100% อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการเป็น Long Covid ที่อยู่ในขั้นศึกษาผลข้างเคียงระยะยาวที่มีผลต่อกลไกของร่างกาย

ดังนั้น การป้องกันตัวด้วยการฉีดวัคซีนจึงถือเป็นเรื่องที่ดีที่สุด จึงควรฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเข็ม 3-4 โดยเร็ว ติดตามข่าวสารทางช่องทางต่างๆ เป็นประจำ หมั่นล้างมือ สวมหน้ากาก และเว้นระยะห่างทางสังคม จะเป็นวิธีป้องกันตัวที่ดีที่สุดค่ะ

 

ข้อมูลจาก: Thairath, CH7HD
ภาพปก: Forbes

 

บทความแนะนำสำหรับคนรักสุขภาพ

Long Covid โรคหลังโควิดที่อันตรายกว่าที่คิด

ภาวะ MIS-C ในเด็ก อันตรายหลังหายโควิด

Home Isolation กักตัวที่บ้านอย่างไร ให้ปลอดภัยต่อตนเองและคนรอบข้าง

 

บทความการดูแลสุขภาพ