โมลนูพิราเวียร์ ยารักษาโควิด-19 ที่จะมาแทน ฟาวิพิราเวียร์

โมลนูพิราเวียร์ ยารักษาโควิด-19 ที่จะมาแทน ฟาวิพิราเวียร์

ยาโมลนูพิราเวียร์ เป็นยารักษาโควิด-19 ที่ทางกระทรวงสาธารณสุขเตรียมนำเข้ามาใช้แทน ฟาวิพิราเวียร์ คาดว่าจะรู้ผล ก.ย.นี้ ถ้าไม่มีปัญหา ผ่านการวิจัย ก็จะขึ้นทะเบียนแล้วสั่งนำเข้ามาใช้ช่วยผู้ป่วยโควิด-19 ในไทยทันที ส่วนจะเข้ามาในไทยเมื่อไหร่ก็ติดตามความคืบหน้ากันอีกที คาดว่าน่าจะช่วงปลายปีนี้ ช่วงปลายพฤศจิกายน ถึงต้นเดือนธันวาคม

 

ยาโมลนูพิราเวียร์

โมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) พัฒนาโดยบริษัท Merck เป็นยาเม็ดชนิดรับประทานออกฤทธิ์ต้านไวรัส พัฒนาขึ้นเพื่อใช้รักษาโรคไข้หวัดใหญ่ จากการศึกษาพบว่า มีฤทธิ์ต่อต้านไวรัสโคโรนาหลายชนิด เช่น ซาร์ เมอร์ส และโควิด-19

ยาโมลนูพิราเวียร์ เป็นยาตัวแรกที่จะใช้เฉพาะโรคโควิด-19 โดยตรง ใช้ประมาณ 40 เม็ด เป็นเวลา 5 วัน ต่อผู้ป่วย 1 คน ซึ่งใกล้เคียงกับ ยาฟาวิพาราเวียร์ที่ใช้เฉลี่ย 50-60 เม็ดต่อคน

คุณสมบัติทั่วไปคล้ายฟาวิพิราเวียร์ ใช้ในการรักษา บรรเทาอาการของโรค เพียงแต่ถูกสร้างมาเพื่อรับมือกับโรค Covid-19 โดยตรง ไม่สามารถทานก่อนติดเชื้อเพื่อป้องกันการติดโควิด-19 ได้

ด้านราคา ตามรายงานของต่างประเทศ ระบุว่า ราคาของยาโมลนูพิราเวียร์ ถูกตั้งแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ขึ้นกับการเซ็นสัญญาซื้อขายของบริษัทยาในประเทศต่างๆ

 

3 ยาต้านไวรัสโควิด-19

  • ฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) เป็นยาเม็ด จะให้ยา 5 วัน สำหรับคนปกติ 50 เม็ดต่อคอร์สการรักษา แต่ถ้าเป็นผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากกว่า 90 กก.จะใช้ 64 เม็ดต่อคอร์สการรักษา ข้อดี คือ ผลลัพธ์การรักษาดี และจากการทดสอบไม่มีผลอาการข้างเคียงรุนแรง
  • เรมเดซิเวียร์ (Remdesivir) เป็นยาฉีด จะใช้สำหรับผู้ป่วยขั้นที่ 4 ซึ่งมีอาการค่อนข้างรุนแรงแล้ว คือ ปอดบวมและมีออกซิเจนน้อยกว่า 96%
  • โมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) เป็นยาเม็ดแบบใหม่ จะสามารถใช้ได้เหมือนกับฟาวิพิราเวียร์ ใช้ประมาณ 40 เม็ดต่อผู้ป่วยหนึ่งคน ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการน้อย

 

เทียบกับ ฟาวิพิราเวียร์

ยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) เป็นยาต้านไวรัส ที่ออกฤทธิ์ในการยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัส มีฤทธิ์ต้านไวรัสในกลุ่ม RNA Virus ได้หลายชนิด ในกลุ่มที่มีอาการซึ่งขึ้นกับการตอบสนองของร่างกายแต่ละคนแตกต่างกัน ดูดซึมง่าย แบ่งยา บดเม็ดยา และให้ทางท่อหลอดอาหารได้

แต่ ยาฟาวิพิราเวียร์ ไม่ได้ถูกผลิตเพื่อใช้กับโควิด-19 โดยตรง ที่นำมาใช้ เพราะไม่มีตัวเลือกที่ดีกว่าในช่วงที่สถานการณ์ไวรัสแพร่ระบาดในประเทศไทย

ต่างจากยาโมลนูพิราเวียร์ที่เจาะจงใช้กับโควิด-19 ทำให้เป็นยาที่น่าจะทดแทนฟาวิพิราเวียร์ได้เป็นอย่างดีกว่า ซึ่งต้องรอผลการวิจัยในขั้นสุดท้าย

บทความที่เกี่ยวข้อง: ยาฟาวิพิราเวียร์ ยาต้านและรักษาโควิด-19

 

ประเด็นร้อนของยาโมลนูพิราเวียร์

ยาเม็ดโมลนูพิราเวียร์ เคยเป็นประเด็นในโลกออนไลน์ในช่วง พ.ค.-มิ.ย. 2564 จากการนำคลิปบางช่วงของนายแพทย์วีระพันธ์ สุวรรณนามัย ไปส่งต่อ จนหลายคนเข้าใจว่าไม่ต้องฉีดวัคซีนก็ได้

อันที่จริง ยากลุ่มต้านไวรัส (antivirals) เป็นยาที่ออกฤทธิ์ต่อไวรัสก่อโรค จึงให้ยาหลังจากเกิดการติดเชื้อแล้วเพื่อใช้รักษาโรค ต่างจากวัคซีนที่ออกฤทธิ์กระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัส จึงเป็นการป้องกันไม่ให้เป็นโรค ด้วยเหตุนี้ยาต้านไวรัสจึงไม่อาจใช้ทดแทนการให้วัคซีนได้

ทั้งนี้ ยากลุ่มต้านไวรัส ไม่ว่าจะเป็น ยาฟาวิพิราเวียร์ และยาโมลนูพิราเวียร์ ถือเป็นยาอันตราย จึงไม่มีการจัดจำหน่ายในร้านขายยาทั่วไป จะมีการแจกจ่ายให้กับผู้ป่วยที่ติดโควิด-19 และติดต่อเข้ามาในระบบรักษาของทาง สธ. เท่านั้น

 

ขอบคุณข้อมูลจาก: Amarin TV, ประชาชาติธุรกิจ, กรุงเทพธุรกิจ
ภาพจาก: รองโฆษกรัฐบาล

 

*** บทความนี้จัดทำเพื่อแจ้งข่าวสารเกี่ยวกับโควิด-19 เท่านั้น ทางฟาสซิโน ไม่ได้วางจำหน่ายยาชนิดนี้ ***

 

บทความแนะนำ

 

หากใครมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่อง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ยา และปัญหาเรื่องสุขภาพ สามารถปรึกษาเภสัชกรที่ร้านขายยา Fascino ผ่านระบบเทเลฟาร์มมาซี เรายินดีให้คําปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพทุกช่องทาง

บทความการดูแลสุขภาพ