เมลาโทนิน ตัวช่วยในการนอนหลับที่ได้ผล

Tags:
เมลาโทนิน ตัวช่วยในการนอนหลับที่ได้ผล

เมลาโทนิน เป็นฮอร์โมนที่ช่วยในการนอนหลับ มีแพทย์แนะนำให้ใช้ ช่วยในการแก้ปัญหาการนอนหลับโดยไม่มีอันตรายมากเท่าสารอื่นๆ แต่ อ.ย.จัดเป็นยาควบคุม ไม่สามารถขายออนไลน์ได้ เป็นสินค้าควบคุมที่ไม่สามารถขายผ่านทางออนไลน์ได้ ทำให้มีการยกเลิกการขายสินค้าในหลายช่องทางในช่วงปลายสิงหาคม พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา

 

เมลาโทนิน ช่วยในการนอนหลับ

เมลาโทนิน (Melatonin) คือ ฮอร์โมนของร่างกายที่สร้างขึ้นจากต่อมไพเนียล โดยมีหน้าที่สำคัญในร่างกายของเรา ช่วยปรับเวลาในการนอนของเราให้ตรงตามเวลาที่ควรจะเป็น

ร่างกายจะเริ่มหลั่งสารนี้ออกมาตั้งแต่ช่วงที่พระอาทิตย์ตกดิน และร่างกายจะมีระดับของเมลาโทนินสูงสุดในช่วงหนึ่งตอนกลางคืน ทำให้เรานอนหลับได้ตามเวลานอนประจำ

ความมืดจะกระตุ้นการหลั่งสารเมลาโทนิน แสงสว่างจะยับยั้งการหลั่งเมลาโทนิน 

การได้รับแสงสีฟ้า เช่น แสงจากหน้าจอโทรศัพท์มือถือ จะสามารถยับยั้งหรือชะลอการหลั่งเมลาโทนินได้ ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้คนที่เล่นมือถือก่อนนอนหลับยาก เพราะระดับเมลาโทนินน้อยเกินไป

ผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่พบการหลั่งเมลาโทนินลดลง จึงทำให้พบภาวะนอนหลับยากที่สัมพันธ์กับอายุได้ มีการทดลองว่าผู้ที่อายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป นอนหลับได้ดีขึ้นเมื่อได้รับเมลาโทนิน

ผู้ที่มีปัญหาจากเจ็ทแลค จากการเดินทางโดยเครื่องบินนานๆ การทานเมลาโทนินจะช่วยให้ร่างกายปรับเวลานอนที่เหมาะสมได้ดีขึ้น

ในประเทศ สหรัฐอเมริกาและแคนาดา มีการอธิบายถึงสรรพคุณที่มากกว่า อย่าง ป้องกันไมเกรน กระตุ้นเส้นผม, จับอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอวัย ป้องกันมะเร็ง โรคหัวใจ และอื่นๆ แต่ไม่ใช่สรรพคุณหลักที่แพร่หลายในประเทศอื่น

 

เมลาโทนิน ออนไลน์

เมลาโทนิน ปลอดภัย แต่มีข้อเสีย

เมลาโทนิน เป็นฮอร์โมนเสริม จัดว่าปลอดภัยสูงกว่ายานอนหลับ ไม่พบอาการติด และไม่พบผลข้างเคียงที่รุนแรง มีเพียงการง่วงซึมบ้าง จึงควรเลี่ยงการใช้ระหว่างเดินทาน

เมลาโทนินไม่ใช่ยานอนหลับ ไม่ถึงกับได้ผลทันทีที่ทาน และบางคนที่ยังมีภาวะเครียด เจ็บปวดร่างกาย อาจไม่สามารถนอนหลับได้จากการทานอาหารที่มีส่วนผสมของเมลาโทนิน 

การกินถึงเกินปริมาณที่กำหนด 3mg, 5mg, 10mg ก็ไม่ได้ส่งผลเสียมากนัก แค่อาจเกินความจำเป็นต่อร่างกายเท่านั้น แต่การกินต่อเนื่องแสดงว่านอนไม่หลับ ควรปรึกษาเภสัชกร หรือแพทย์เพื่อรักษาที่ต้นเหตุดีกว่า

มีผลกับยาบางตัว เช่น ยารักษาโรคเบาหวาน, ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยากันชัก จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน

 

อย. ย้ำว่าห้ามขาย

เนื่องจากช่วยในการนอนหลับอย่างได้ผล จนเป็นที่บอกต่อ จึงมีการขายเมลาโทนินมากขึ้นในปี 2562-2563 มีการนำมาขายทางโซเชียลมีเดีย หรือ เว็บ ecommerce หลายเว็บไซต์ ในบางประเทศอนุญาติให้วางจำหน่ายได้อย่างแพร่หลาย แต่ในประเทศไทยยังไม่ได้อนุญาตให้ขายออนไลน์และช่องทางอื่นๆ เพราะจัดเป็นยาควบคุมพิเศษ ที่ต้องอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์เท่านั้น จึงมีการเตือนผ่านสื่อย้ำอีกครั้ง

เมื่อ 24 สิงหาคม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พบการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนผสมของเมลาโทนินผ่านทางโซเชียลมีเดียเป็นจำนวนมาก ซึ่งระบุสรรพคุณอ้างว่ามีส่วนช่วยในการนอนหลับนั้น ทาง อย. ขอชี้แจงว่า ปัจจุบันยังไม่อนุญาตเมลาโทนินเป็นส่วนประกอบในอาหารหรือเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร เนื่องจากเป็นฮอร์โมนที่หากได้รับติดต่อกันในระยะยาว อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่ายกายได้ ประกอบกับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของเมลาโทนินส่วนมากมีวัตถุประสงค์การจำหน่ายเพื่อช่วยในการนอนหลับ ซึ่งวัตถุประสงค์ดังกล่าวไม่จัดเป็น “อาหาร” ตามนิยามที่กำหนดในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ปัจจุบันมีการขึ้นทะเบียนยาที่มีส่วนผสมของเมลาโทนินเป็นยาควบคุมพิเศษ อนุญาตให้ใช้เฉพาะในโรงพยาบาลหรือต้องควบคุมโดยการสั่งหรือภายใต้คำแนะนำของแพทย์เท่านั้น

 

สำหรับผู้ที่ต้องการตัวช่วยในการนอนหลับที่มีขายออนไลน์ ควรพิจารณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอื่นที่มีสรรพคุณช่วยในการนอน หรือ ปรึกษาเภสัชกรใกล้บ้าน

 

อ่านอะไรต่อดี

นอนหลับยาก ทุกข์มาก แต่แก้ง่าย

10 เคล็ดลับนอนหลับง่าย โดยไม่ต้องใช้ยา

การนอนไม่หลับ ต้องใส่ใจ อันตราย กว่าที่คิด


หากใครมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่อง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ยา และปัญหาเรื่องสุขภาพ สามารถปรึกษาเภสัชกรที่ร้านขายยา Fascino ผ่านระบบเทเลฟาร์มมาซี เรายินดีให้คําปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพทุกช่องทาง

บทความการดูแลสุขภาพ