โควิดลงปอด มีอาการผิดปกติอย่างไร

โควิดลงปอด มีอาการผิดปกติอย่างไร

เมื่อพบติดเชื้อโควิด-19 จากการใช้ชุดตรวจโควิด-19 ด้วยตัวเอง หรือตรวจคัดกรองตามจุดตรวจ ผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการหนัก ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงและอายุไม่เกิน 60 ปีควรเข้าระบบ Home Isolation กักตัวที่บ้าน แต่สิ่งที่หลายคนกังวล คือ ถ้าเชื้อลงปอดจะมีอาการอย่างไร สังเกตได้อย่างไร

เมื่อเชื้อเริ่มลงปอดจะเริ่มเห็นอาการที่ชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะเมื่อลงปอดจะเริ่มแสดงอาการหลายอย่าง โดยอาการปอดอักเสบ ถือเป็นอาการหลักๆ ที่เห็นชัดหลังติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าผู้ป่วยกำลังอยู่ในขั้นวิกฤตมากขึ้น ซึ่งจะสังเกตอาการได้ชัดเจนขึ้น

 

3 อาการโควิดลงปอด

1. ไข้สูง

ส่วนมากจะวัดอุณหภูมิได้ 37.5 องศา เหตุผลที่มีไข้เพราะปอดอักเสบ ทำให้มีไข้ขึ้นสูง

2. ไอ

อาจเป็นไอแห้ง หรือ แบบมีเสมหะ เป็นผลจากปอดอักเสบ เป็นอาการเบื้องต้นที่พบโดยจะไม่รุนแรงในช่วง 5 วันแรก แต่จะเริ่มถี่ขึ้นตามลำดับ

3. เหนื่อย หอบ

เมื่ออาการอักเสบที่ปอดมาก ทำให้มีน้ำและหนอง การสร้างออกซิเจนที่ปอดจะลดลง ส่งผลให้ ออกซิเจนในเลือดลดลง เลือดขาดออกซิเจน แน่นหน้าอก เหนื่อยเวลาออกแรง

สำหรับคนที่แข็งแรง สามารถทดสอบได้อย่าง การทดสอบอาการเหนื่อยด้วย Sit-to-Stand Test ลุกนั่งเก้าอี้โดยไม่จับเก้าอี้ 20-25 ครั้ง ใน 1 นาทีแล้วสังเกตอาการเหนื่อย แต่มีข้อจำกัดในหลายกรณีโดยเฉพาะผู้สูงอายุ หรือ มีอาการหัวใจ

อีกวิธีที่แนะนำ คือ ลองหายใจเข้าปอดลึกๆ บางรายที่มีอาการปอดอักเสบ มักจะ ไอ ระหว่างที่สูดลมหายใจเข้าปอด ซึ่งเป็นอาการที่พบบ่อยในผู้ป่วยโควิดที่มีเชื้อจนปอดอักเสบแล้ว

 

ถ้ามีสามอาการร่วมกัน ให้สงสัยว่าโควิดลงปอด ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว หรือ กลุ่มเสี่ยงสูง โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ก็ได้ แต่เพื่อความมั่นใจ ควรใช้อุปกรณ์ เช่น ปรอทวัดไข้ วัดอุณหภูมิตัวเองอย่างต่อเนื่อง และใช้ เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด อย่างสม่ำเสมอ ควรใช้เครื่องที่วัดได้มาตรฐาน ไม่ควรใช้เครื่องราคาถูกที่มีขายตามออนไลน์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ไม่มีการรับรองคุณภาพ

 

อาการของโควิดสายพันธุ์

ช่วงเดือนสิงหาคม 2564 เป็นสายพันธุ์หลักที่พบในไทยจะเป็นเดลตา ที่แสดงอาการน้อยมากโดยเฉพาะจมูกยังได้กลิ่น และอาจไม่ถ่ายเหลว ส่วนสายพันธุ์อัลฟาถึงน้อยลงแต่ยังพอเห็นได้ในบางพื้นที่

 

อาการของสายพันธุ์เดลตา (อินเดีย)

  • อาการคล้ายหวัดธรรมดา
  • มีน้ำมูก
  • เจ็บคอ
  • ปวดศีรษะ
  • ไม่ค่อยพบอาการสูญเสียการรับรส (พบในบางราย)

 

อาการของสายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ)

  • มีไข้ มีน้ำมูก
  • ปวดเมื่อย ปวดศีรษะ
  • หนาวสั่น
  • ท้องเสีย
  • อาเจียน
  • รับรส และได้กลิ่นผิดปกติ

 

ทำไมบางคนอาการถึงแตกต่างกัน

โควิด-19 ไม่ได้แสดงผลเท่ากัน ขึ้นกับภูมิคุ้มกันของผู้ที่ได้รับเชื้อ บางคนร่างกายแข็งแรง เคยได้รับวัคซีนมาบ้าง ทำให้มีอาการแค่บางอย่างหรืออย่างหนึ่งอย่างใดเท่านั้น เช่น บางคนไออย่างเดียวหลายสัปดาห์ จนอาการหนัก

บางคนแค่ทานฟ้าทะลายโจร ทานยาพาราเซตามอล หรือยาต้านแบบยาฟาวิพิราเวียร์ จนเชื้อหมดก่อนที่จะโควิดลงปอด แต่บางคนแสดงอาการเชื้อลงปอดก่อน ซึ่งควรรีบติดต่อขอเข้ารับการรักษาโดยเร็ว

 

การดูแลตัวเองระหว่างโควิดลงปอด

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ ไม่สามารถหาเตียงรักษาในโรงพยาบาล หรือ โรงพยาบาลสนามได้ในเวลาสั้นๆ ระหว่างนี้ต้องดูแลตัวเองไปก่อน

  • ระหว่างรอเตียง แนะนำให้ นอนคว่ำ เพื่อให้ปลอดทำงานได้ดีขึ้น โดยเปลี่ยนท่านอนเป็นตะแคงซ้าย-ขวา และพลิกกลับมานอนหงายคว่ำ สลับกันไป เพื่อไม่ให้เกิดการกดทับ
  • ขยับขาบ่อยๆ เพื่อให้เลือดไหลเวียนสะดวก
  • ดื่มน้ำมากๆ ทานอาหารให้เพียงพอ
  • เลี่ยงการอยู่คนเดียว ช่วงไปห้องน้ำควรมีคนดูแล หรือถ้าเป็นผู้สูงอายุอาจต้องขับถ่ายในกระโถนหรือใส่ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ เพื่อเลี่ยงการหมดสติระหว่างไปห้องน้ำ

 

ฉีดวัคซีนเพื่อลดความรุนแรง

ผู้ป่วยโควิดที่มีอาการหนักส่วนใหญ่พบว่าจะเกิดอาการ “Long COVID” หรือ ผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพ เนื่องจากร่างกายสร้าง“แอนติบอดี” บางชนิดขึ้นมาและไปจับกับโปรตีนเซลล์อวัยวะต่างๆในร่างกาย เช่น สมอง ปอด หรือ ทางเดินอาหาร ทำให้สร้างความเสียหายต่ออวัยวะเหล่านั้น

แม้จะหายจากการติดเชื้อโควิดแล้ว ผู้ป่วยจะยังคงมีอาการข้างเคียงอยู่ โดยโอกาสที่จะเกิดอาการดังกล่าวนั้นมีถึงร้อยละ30-50

โดยอาการที่พบ เช่น เกิดภาวะสมองล้า หายใจติดขัด หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ ยังรวมถึงอาการอื่นๆ เช่น ปวดตามข้อ เจ็บหน้าอก ไอ เหนื่อยง่าย ปวดศีรษะ /นอนไม่หลับ หรือ เกิดอาการวิตกกังวล เป็นต้น

วิธีการที่ดีที่สุดที่จะป้องกันการสร้าง “แอนติบอดี”เหล่านี้ คือต้องเร่งฉีดวัคซีน เพื่อใช้ภูมิคุ้มกันจากวัคซีนไปยับยั้งการติดเชื้อ (ที่มา: TNN)

 

วิธีสังเกตอาการเมื่อติดโควิด-19 ว่า “เชื้อลงปอด” แล้วหรือยัง?

 

บทความแนะนำ

 

ภาพจาก: Pixabay

บทความการดูแลสุขภาพ