ยาพาราเซตามอล ยิ่งทานเยอะยิ่งหายปวด จริงไหม ?

ยาพาราเซตามอล ยิ่งทานเยอะยิ่งหายปวด จริงไหม ?

ยาพาราเซตามอล เป็นยาที่ใช้กันจนเป็นเรื่องปกติ ด้วยคุณสมบัติบรรเทาปวดได้แทบทุกส่วนในร่างกาย แก้ปวดได้ทุกเวลา ทุกช่วงวัย แต่บางคนต้องเจออาการปวดมากกว่าปกติ อาจจะปวดฟัน ปวดแผล ปวดหัว จนเผลอทานเยอะๆ ถี่ๆ เผื่อจะหายปวดได้มากขึ้น และบางคนก็เชื่อแบบนั้น แล้วความจริงควรทานกี่เม็ด ทานเยอะผลยิ่งเยอะจริงไหม ลองมาดูคำตอบกัน

 

ยาพารา ทานมาก ผลเท่าเดิม

ความเชื่อการกินพาราเซตามอล ยิ่งทานมาก ยิ่งมีผลเยอะ ถือว่าเป็นเรื่องที่เข้าใจผิด

ถึงทานเกิน 2-3 เม็ดในช่วงเวลาสั้นๆ ผลการบรรเทาอาการปวดยังคงเท่าเดิม ไม่ได้แสดงผลยับยั้งอาการปวดที่มากขึ้น ยกเว้นจะหายาตามใบสั่งแพทย์ที่มีผลระงับความเจ็บปวดได้ดีกว่า

สิ่งที่เพิ่มเติมจากการทานปริมาณมากเกินไป คือ ยาส่วนเกินจะกลายเป็นสารตกค้างจำนวนมากในร่างกาย เป็นอันตรายต่อร่างกายโดยเฉพาะตับ อาจส่งผลให้ตับอักเสบ หรือผลข้างเคียงหลายอย่าง

ดังนั้น การทานมากเกินไป นอกจากไม่ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แล้วยังส่งผลเสียต่อร่างกายด้วย ถ้าต้องการยาที่แรงขึ้น ควรปรึกษาเภสัชกร หรือ แพทย์

 

ปริมาณที่เหมาะสม

สูตรคำนวณ พาราเซตามอนที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุด "น้ำหนักตัวผู้ทาน 1 กิโลกรัม ควรทานยาสัดส่วนประมาณ 10 มิลลิกรัม"

เช่น ถ้าน้ำหนักผู้ทาน 50 กิโลกรัม ควรทานยาพาราเซตามอล 500 มิลลิกรัม ซึ่ง ยาเม็ดที่มีตัวยาพาราเซตามอล 500 มิลลิกรัมต่อเม็ด 1 เม็ด ก็เพียงพอ

 

สำหรับคนไม่อยากคำนวณ ให้ดูคำแนะนำข้างฉลากยา ส่วนใหญ่จะเขียนในสูตรเข้าใจง่ายๆ คล้ายกันหลายยี่ห้อ คือ

  • น้ำหนักตัว 34-50 กิโลกรัม ทานครั้งละ 1 เม็ด
  • น้ำหนักตัว 50-67 กิโลกรัม ทานครั้งละ 1 เม็ดครึ่ง ไม่เกินวันละ 5 ครั้ง
  • น้ำหนักตัวตั้งแต่ 67 กิโลกรัมขึ้นไป ทานครั้งละ 2 เม็ดครึ่ง ไม่เกินวันละ 4 ครั้ง

 

ระยะเวลาทาน

กรณีใช้ยาพาราเซตามอลเพื่อลดไข้ ไม่ควรทานติดต่อกันเกิน 3 วัน (ทั้งเด็กและผู้ใหญ่) ผู้ใหญ่ไม่ควรทานต่อเนื่องเกิน 10 วัน เด็กไม่เกิน 5 วัน

บทความแนะนำ: ยาพาราเซตามอล กินบ่อยอันตรายไหม ?

 

 

บทความการดูแลสุขภาพ