เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาหรือโควิด-19 เริ่มดีขึ้น หลายคนก็เริ่มทยอยกันกลับไปทำงานที่ออฟฟิศกันแล้ว ซึ่งพฤติกรรมที่น่าเป็นห่วงสำหรับสาวออฟฟิศคือ การนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานานไม่ค่อยขยับตัว แถมยังทานอาหารระหว่างทำงานไปด้วย บวกกับความเครียดและความวิตกกังวลเรื่องงาน พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุของอาการเจ็บป่วยมากมาย เช่น
อาหารไม่ย่อย
ทำให้รู้สึกไม่สบายท้อง หรือมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ท้องอืด แน่นท้อง โดยมักเกิดในผู้ที่ชอบรับประทานอาหารเร็วเกินไป รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง อาหารรสจัด หรือเป็นผู้ที่มีภาวะเครียด วิตกกังวล
ท้องผูก
โดยมีอาการถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ อุจจาระเป็นก้อนแข็งมากกว่าปกติ มักพบในผู้ที่เคลื่อนไหวร่างกายน้อย รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อยเกินไป
โรคลำไส้แปรปรวน
แต่ละรายจะมีอาการปวดท้องร่วมกับการขับถ่ายผิดปกติ เช่น ท้องผูกหรือท้องเสียสลับกัน โดยอาการจะดีขึ้นหลังจากถ่ายอุจจาระ ปัจจุบันยังไม่สามารถระบุสาเหตุของโรคได้ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงได้แก่ ความเครียด ความวิตกกังวล รวมทั้งการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง เช่น น้ำอัดลม ชา กาแฟ แอลกอฮอล์ เป็นต้น
ดังนั้น หากพบอาการผิดปกติหรือสงสัยว่าตัวเองอาจเป็นโรคลำไส้แปรปรวน มีอาการท้องผูกหรืออาหารไม่ย่อย ก็ควรที่จะปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตและปรับการรับประทานอาหารร่วมด้วย เช่น
-
หันมารับประทานอาหารที่มีกากใยอย่างผักและผลไม้มากขึ้น
-
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสจัดและไขมันสูง
-
ดื่มน้ำเปล่าให้ได้วันละ 6 - 8 แก้ว
-
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
-
แบ่งเวลาขยับร่างกายระหว่างนั่งทำงาน
-
หลีกเลี่ยงการวิตกกังวล
-
งดดื่มแอลกอฮอล์
-
เลิกสูบบุหรี่
การปรับพฤติกรรมระหว่างทำงานและการใช้ชีวิตเพียงเล็กน้อย ก็สามารถช่วยให้สุขภาพโดยรวมของเราดีขึ้นได้แล้ว อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ และยังมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ได้อีกด้วย
ผู้เขียน
ธมนวรรณ พรพาณิชเจริญ
เภสัชกร
อ่านอะไรต่อดี ?
- โรคใหลตาย วัยทำงานต้องระวัง
- โรคออฟฟิศซินโดรม ป้องกันตัวอย่างไร อันตรายหรือไม่
- ออฟฟิศซินโดรม มีอาการอย่างไรบ้าง สังเกตอย่างไร ?
- ทำงานบนเตียง เสี่ยงออฟฟิศซินโดรมกว่าที่คิด
หากใครมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่อง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ยา และปัญหาเรื่องสุขภาพ สามารถปรึกษาเภสัชกรออนไลน์ได้ที่ ปวด ป่วย อาย จาม "ถามMacy" เรายินดีให้คําปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพ
- ปรึกษาง่าย ๆ ไม่ต้องโหลดแอป ได้ที่ https://telepharmacy.fascino.co.th/
- Facebook : https://m.me/fascinohealthcarethailand
- Line : https://lin.ee/3mHf2nZ
- โทร : 02-111-6999