5 อาหารที่ควรเลี่ยง ลดเสี่ยงกับโรคไตวายเรื้อรัง

5 อาหารที่ควรเลี่ยง ลดเสี่ยงกับโรคไตวายเรื้อรัง

จากปัญหาน้ำประปาเค็มในบางพื้นที่ และ ผลข้างเคียงของถั่งเช่า ที่มีการพูดถึงเสี่ยงต่อโรคไตวาย ทำให้มีความรู้สึกระมัดระวังในการรับประทานอาหารมากขึ้น มีอาหารหลายอย่างที่มีความเค็มสูง หมอ นักโภชนากร แนะนำให้เลี่ยงอาหารเค็มสำหรับคนที่ไม่อยากฟอกไตทั้งชีวิต

ไต อวัยวะที่สำคัญ

ไต ถือเป็นอวัยวะที่สำคัญมาก มีบทบาทในการขับของเสียออกจากร่างกาย ช่วงปรับสมดุล น้ำ กรด เบส รวมถึงปริมาณแร่ธาตุในร่างกาย

กรณีไตเกิดภาวะเสื่อม โรคไตเรื้อรัง จนไตวายไม่สามารถขับของเสียได้ จะส่งผลเสียต่อร่างกาย แล้วยังต้องฟอกไตสัปดาห์ละหลายครั้ง จนอาจกลับไปใช้ชีวิตแบบเดิมไม่ได้อีก การรักษาไตไว้จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

โรคไตถือเป็นโรคที่มีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง หลังเป็นแล้วต้อง การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม หรือ วิธีล้างช่องท้องด้วยน้ำยา (CAPD) การรักษาที่ดีสุด คือ การเปลี่ยนไต แต่ทั้งค่าใช้จ่ายสูงมากและอาจหาไตมาเปลี่ยนไม่ได้

ข้อมูลจากการศึกษาจากสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย พบว่าคนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรัง ประมาณร้อยละ 17.6 ของคนไทยป่วยเป็นโรคไต คิดเป็นผู้ป่วยราว 8 ล้านคน 80,000 คนเป็นไตวายระยะสุดท้าย และมีแนวโน้มมากขึ้นเป็นทุกปี ๆ [ที่มา]

ไม่แนะนำให้บริโภคโซเดียมเกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน หรือเกลือ 1 ช้อนชา และไม่เกิน 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน สำหรับผู้สูงอายุที่มีโรคความดันโลหิตสูง

อาหารที่ควรเลี่ยง 5 อย่าง

เพราะจะทำให้เกิดอาการไตวายได้ มีอาหารหลายอย่างที่มีเกลือสะสมจำนวนมาก ที่ควรหลีกเลี่ยงพิเศษมีดังนี้

อาหารสำเร็จรูป

อาหารกึ่งสำเร็จรูป และอาหารกระป๋อง อาหารเหล่านี้จะประกอบด้วยเกลือโซเดียมมาก สังเกตง่ายๆ จากข้อมูลบนข้างฉลาก อย่างอาหารกึ่งสำเร็จรูปหลายอย่างมีค่าโซเดียมราวๆ 50%-70% กรณีต้องทานควรเลี่ยงการซดน้ำและของเหลวในบรรจุภัณฑ์

เนื้อสัตว์ตากแห้ง

อาหารที่ผ่านกระบวนการเพื่อเก็บไว้ได้นาน เช่น เนื้อสวรรค์ ไส้กรอก แฮม แหนมอาหารเหล่านี้จะประกอบด้วยเกลือโซเดียมสูงมาก ควรทานแต่พอดี ไม่ควรทานต่อเนื่อง

อาหารไขมันสูง

กลุ่มอาหารที่อุดมด้วยไขมัน เช่น หมูทอด ไก่ทอด มันหมู เพราะเมื่อทานเป็นเวลานานๆ จะทำให้ความดันโลหิตสูง ส่งผลต่อไตได้

อาหารหมักดอง

อาหารพวกนี้กินแล้วอร่อย เปรี้ยว มัน แต่หลายคนไม่ทราบว่าเกลือสูงเกินมาตรฐานเช่นกัน จึงไม่ควรทานบ่อย

อาหารตามสั่ง ปรุงเค็ม

อาหารตามสั่งส่วนใหญ่ในไทย มีการใส่น้ำปลาและเกลือแบบเข้มข้นเพื่อเอาใจลูกค้าส่วนใหญ่ ซึ่งปริมาณความเค็มที่ถูกปากคนไทย มักเค็มเกินมาตรฐานเสมอ บางร้านแค่มื้อเดียวแบบเค็มๆ อาจได้โซเดียมเพียงพอสำหรับ 1-2 วัน กินวันละ 3 มื้อ ไตเสี่ยงพังสูง

บางคนไม่ทราบเพราะข้าวสวยดูดซับความเค็มไว้ แต่ย่อยเข้ากระแสเลือดภายหลัง วิธีแก้ ควรบอกคนทำอาหารให้เค็มน้อยๆ ลง ถ้าแม่ครัวลดเค็มไม่ได้ ก็ควรเปลี่ยนร้าน

ปริมาณความเค็มในอาหาร

เกลือ 1 ช้อนชา = 2,000 มก.

ผงชูรส 1 ช้อนชา = 610 มก.

น้ำปลา/น้ำปลาร้า 1 ช้อนชา = 500 มก.

ซีอิ้ว/ซอสถั่วเหลือง 1 ช้อนโต๊ะ = 1,190 มก.

อาหารถุง = 815 - 3,527 มก.

* ข้อมูลโดย สสส.

 

การทานอาหารจนโซเดียมมากเกินไป ส่งผลทำให้ไตทำงานหนัก ถ้ากินเป็นเวลานานๆ จะทำให้ไตวายได้ ทั้งนี้ การทานอาหารทุกประเภทไม่ได้ห้าม แต่ควรเลี่ยงและทานในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อสุขภาพไตที่ดี และไม่ต้องฟอกไตในอนาคต

ที่มา : หมอหมีมีคำตอบ

บทความการดูแลสุขภาพ