เช็คให้ชัวร์ อาการโควิด เขียว เหลือง แดง

เช็คให้ชัวร์ อาการโควิด เขียว เหลือง แดง

ในประเทศไทยมีการแบ่งผู้ป่วยโควิด-19 ออกมาเป็นสีต่าง ๆ โดยแบ่งตามระดับความรุนแรงเป็นสีเขียว สีเหลือง และสีแดง ซึ่งผู้ป่วยแต่ละสีก็จะมีวิธีดูแลและจัดการที่แตกต่างกันออกไป เรามาทำความเข้าใจกันเพิ่มกันหน่อยดีกว่าว่า ผู้ป่วยโควิดแต่ละสีนั้นแตกต่างกันอย่างไร ประเมินอย่างไร  

 

แบ่งสีของผู้ป่วยโควิด เพื่ออะไร ?

สาเหตุที่ต้องประเมินอาการผู้ป่วยและแบ่งสีตามความรุนแรงเป็นสีเขียว เหลือง แดงนั้น ก็เพื่อให้การรักษาจัดการได้รวดเร็วและเป็นระบบมากขึ้น หากตัวผู้ป่วยเองประเมินดูแล้วอาการของตัวเองไม่รุนแรง ก็สามารถแยกกักตัวหรือ Home Isolation เองได้ที่บ้าน ลดความแออัดในโรงพยาบาล แต่ถ้าประเมินดูแล้วอาการน่าเป็นห่วง ก็จะได้แจ้งเจ้าหน้าที่และเข้ารับการรักษาได้ทันเวลา เป็นประโยชน์ต่อทั้งตัวผู้ป่วยเอง และเป็นประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่ด้วย

 

อาการโควิด เขียว เหลือง แดง 

การประเมินอาการความรุนแรงของผู้ป่วยติดโควิด-19 แบ่งได้เป็น 3 ระดับตามสี สีเขียว สีเหลือง สีแดง ต่างกันที่ระดับความรุนแรง สีเขียวก็จะเบาสุด ส่วนสีแดงคือระดับอันตราย 

 

กลุ่มผู้ป่วยอาการสีเขียว คือ อาการเบื้องต้นของผู้ป่วยที่เริ่มติดโควิด-19 มีอาการเหมือนเป็นไข้หวัดปกติ หรือไม่มีอาการ

อาการของผู้ป่วยในกลุ่มสีเขียว

  • มีไข้
  • วัดอุณหภูมิได้ตั้งแต่ 37.5 องศาขึ้นไป
  • ไอ
  • มีน้ำมูก
  • เจ็บคอ
  • จมูกไม่ได้กลิ่น
  • ลิ้นไม่รับรส
  • ตาแดง
  • มีผื่น
  • ถ่ายเหลว
  • หายใจปกติ
  • ไม่เหนื่อย
  • ไม่หายใจลำบาก
  • ไม่มีปอดอักเสบ

 

กลุ่มผู้ป่วยอาการสีเหลือง คือ ผู้ป่วยโควิด-19 เริ่มจะมีอาการ มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง หรือโรคประจำตัวสำคัญร่วม รวมถึงคนที่อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป และอยู่ในกลุ่มโรคอ้วน

อาการของผู้ป่วยในกลุ่มสีเหลือง

  • แน่นหน้าอก
  • หายใจลำบาก
  • ไอแล้วเหนื่อย
  • อ่อนเพลีย
  • เวียนหัว
  • อาเจียน
  • ปอดอักเสบ
  • ถ่ายเหลวมากกว่า 3 ครั้ง/วัน

 

กลุ่มผู้ป่วยอาการสีแดง คือ ผู้ป่วยโควิดที่มีอาการหนักแล้ว จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลโดยด่วน

อาการของผู้ป่วยในกลุ่มสีแดง

  • หอบเหนื่อย
  • พูดไม่เป็นประโยคขณะสนทนา
  • แน่นหน้าอกตลอดเวลา
  • หายใจแล้วเจ็บหน้าอก
  • ซึม
  • เรียกไม่รู้สึกตัว หรือตอบสนองช้า
  • มีภาวะปอดบวม (ความอิ่มตัวของเลือดน้อยกว่า 96% หรือ ความอิ่มตัวของเลือดลดลงมากกว่า 3% ของค่าที่วัดได้ครั้งแรกหลังออกแรง)
  • X-Ray พบปอดอักเสบรุนแรง

 

"ผู้ป่วยสีเขียว" ให้ใช้การรักษาด้วยวิธี Home Isolation หรือ Community Isolation หรือโรงพยาบาลสนามในชุมชน หากมีอาการมากขึ้นให้พิจารณาส่งต่อสถานพยาบาลรักษา และยืนยันการติดเชื้อด้วยวิธี RT-PCR

ส่วน "ผู้ป่วยสีเหลือง/สีแดง" ให้ติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาล จะปลอดภัยกว่า

 

บทความแนะนำ

 

ภาพปกจาก: Freepik

บทความการดูแลสุขภาพ