โควิดสายพันธุ์ใหม่ XBB.1.16 ติดง่ายกว่าเดิม ?

โควิดสายพันธุ์ใหม่ XBB.1.16 ติดง่ายกว่าเดิม ?

พอหมดช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา ก็มีข่าวว่าแนวโน้มผู้ติดเชื้อโควิดเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งน่ากังวลว่าเป็นโควิดสายพันธุ์ XBB.1.16 หรือไม่ เพราะมีผู้ติดเชื้อในไทยแล้วถึง 8 ราย สิ่งที่น่ากลัวของโควิดสายพันธุ์นี้ก็คือ มีการแพร่ระบาดและติดเชื้อได้ง่ายกว่าเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนที่เคยระบาดช่วงก่อนหน้านี้ และคนที่เคยติดเชื้อแล้วกับคนที่ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นก็ยังติดเชื้อโควิดสายพันธุ์นี้ได้ เภสัชกรจึงได้รวมข้อมูลคุณสมบัติของเชื้อโควิดตัวนี้ อาการและวิธีการรักษาเบื้องต้นมาให้แล้ว มีอะไรบ้างไปดูพร้อมกันเลยค่ะ

 

คุณสมบัติโควิดสายพันธุ์ใหม่ XBB.1.16

  • สามารถแพร่ระบาดและติดเชื้อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์โอมิครอนเดิม 1.5 - 2 เท่า 
  • หลบหลีกภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุด 
  • อาจทำให้แสดงอาการของโรคได้มากขึ้น
  • มีแนวโน้มกลายพันธุ์ได้ง่าย

 

ขณะนี้ยังไม่พบรายงานว่ามีอาการรุนแรงเพิ่มขึ้นหรือมีการเสียชีวิตสูงเหมือนสายพันธุ์ก่อน ๆ แต่สามารถสังเกตุอาการแสดงเฉพาะได้ ดังนี้

 

อาการทางตา 

  • ตาแดงหรือเยื่อบุตาอักเสบ มีขี้ตาเหนียว 
  • เปลือกตาอักเสบ ระคายเคืองตา ลืมตาลำบาก

 

อาการแสดงอื่น ๆ ร่วมด้วย

  • มีไข้สูง ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล
  • จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส
  • มีผื่นขึ้น

 

วิธีการรักษาตนเองเบื้องต้น

  • ถ้ามีอาการบริเวณดวงตา เบื้องต้นให้รักษาความสะอาดและหลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณตา ตามปกติแล้วอาการมักจะหายได้เองภายใน 1 - 2 สัปดาห์
  • สำหรับอาการหวัดทั่วไป สามารถรับประทานยาตามอาการหวัด ลดไข้ ยาบรรเทาอาการไอ และนอนพักผ่อนให้มาก ๆ

 

กลุ่มเสี่ยงที่อาจเกิดอาการรุนแรงหากได้รับเชื้อโควิด

  • ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
  • ผู้มีโรคประจำตัวในกลุ่ม 7 โรค ได้แก่ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน
  • หญิงตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป
  • ผู้ที่ไม่เคยติดเชื้อโควิดมาก่อน หรือยังไม่ได้รับวัคซีน mRNA

 

ดังนั้น ช่วงหลังสงกรานต์นี้คงต้องเฝ้าระวังสังเกตอาการตนเอง ไม่ว่าจะเคยติดหรือไม่เคยติดโควิดมาก่อน หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ผู้สูงอายุและผู้ป่วยเรื้อรัง ส่วนผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน mRNA หรือไม่ได้ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเกิน 4 เดือน แนะนำให้ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น ก็จะช่วยลดความรุนแรงของอาการได้มาก แต่หากพบตรวจ ATK แล้วพบว่าติดเชื้อโควิดแล้วอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง ก็ให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพิ่มเติม เพื่อจะได้รับการรักษาด้วยยาตามอาการอย่างถูกต้อง



ผู้เขียน

ธมนวรรณ พรพาณิชเจริญ 

เภสัชกร 

 

หากใครมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่อง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ยา และปัญหาเรื่องสุขภาพ สามารถปรึกษาเภสัชกรออนไลน์ได้ที่ ปวด ป่วย อาย จาม "ถามMacy" เรายินดีให้คําปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพ

 

อ่านอะไรต่อดี ? 

5 โรคผิวหนังที่ต้องระวังในฤดูฝน

5 โรคฮิตช่วงหน้าร้อน ที่ทุกคนต้องระวัง

ยาแก้แพ้แบบง่วง-ไม่ง่วง ต่างกันอย่างไร ? เลือกซื้ออย่างไร

 

บทความการดูแลสุขภาพ