อาการปวดหลังเป็นอาการป่วยที่พบได้บ่อยในปัจจุบันโดยเฉพาะผู้ใหญ่วัยทำงาน ทำให้รู้สึกไม่สบายตัว สร้างความหงุดหงิดรำคาญใจ รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน แม้อาการปวดหลังจะหายเองได้ภายในไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์ แต่หากปล่อยไว้จนกลายเป็นปวดหลังเรื้อรัง อาจลุกลามจนกลายเป็นปัญหาใหญ่ได้
สาเหตุ
- ท่าทางที่ไม่ถูกต้อง เช่น ยกของหนักหรือก้มลงโดยไม่ย่อเข่า นั่งทำงานในท่างอหลังหรือนั่งหลังค่อมเป็นเวลานาน
- สภาวะจิตใจ เช่น ความเครียดที่ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวตลอดเวลา
- โรคของกระดูกและกล้ามเนื้อ เช่น หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังเสื่อม เนื้องอกในกระดูกสันหลัง หรือโรคในกลุ่มเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่ทำให้หลังมีอาการอักเสบจนผู้ป่วยมีอาการหลังแข็ง เป็นต้น
- อาการปวดหลังที่เกิดจากโรคอื่น ๆ เช่น เป็นโรคที่เกี่ยวกับอวัยวะภายใน เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดโป่งพองในช่องท้อง โรคที่เกี่ยวกับรังไข่และมดลูก เป็นต้น อาการของโรคต่าง ๆ ที่กลา่วมาอาจทำให้เกิดการปวดร้าวลงมาหลังได้
สัญญาเตือนที่ควรรีบไปพบแพทย์
- มีอาการปวดหลังต่อเนื่องนานเกิน 3 สัปดาห์
- อาการปวดร้าวลงขา
- อาการปวดหลังเป็นมากขึ้นขณะยกขาหรือก้มหลัง
- อาการปวดหลังเป็นมากขึ้นตอนกลางคืนหรือขณะพัก
- มีอาการปวดหลังรุนแรงหลังจากหกล้ม
- มีอาการผิดปกติของระบบขับถ่ายร่วมด้วย
- มีอาการชาหรือขาอ่อนแรงเมื่อเดินไกล
วิธีการรักษา
ปัจจุบันอาการปวดหลังสามารถรักษาได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับอาการและลักษณะของโรคที่เป็น
- การรักษาด้วยการใช้ยา ส่วนใหญ่ผู้ที่มีปวดหลัง ปวดคอ หรือปวดเอว มักเกิดจากกล้ามเนื้ออักเสบ หรือ การเจ็บบริเวณเส้นเอ็น ซึ่งจะมีอการดีขึ้นเมื่อได้รับยา เช่น ยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาแก้อักเสบ หรือยาบำรุงปลายประสาท
- การทำกายภาพบำบัด จะช่วยลดอาการปวด ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตในร่างกาย
- การพักผ่อน ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังมาก ๆ ควรนอนพักบนที่นอนที่มีลักษณะแน่นและยุบตัวน้อย ซึ่งทำจากนุ่นอัดแข็ง หรือทำด้วยใยกากมะพร้าว ส่วนผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไปควรควบคุมหรือลดน้ำหนัก เนื่องจากอาจทำให้มีอาการปวดหลังได้มากกว่าคนปกติ
- การผ่าตัด การผ่าตัดรักษาอาการปวดหลังสามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับลักษณะของโรค อาการ และการวินิจฉัยของแพทย์
สุขภาพหลังของเราเป็นเรื่องสำคัญ หากหลังมีปัญหาอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก อาจลามไปยังอวัยวะส่วนอื่น หรืออาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายได้อีกด้วย ดังนั้นเภสัชกรแนะนำว่าเราควรสังเกตอาการตนเองให้ดี หากมีสัญญาเตือนเหล่านี้ อย่าชะล่าใจ ควรรีบเข้ารับการรักษาก่อนที่จะมีภาวะแทรกซ้อนตามมานะคะ
ผู้เขียน
สิราวรรณ ล้วนสุธรรม
เภสัชกร
อ่านอะไรต่อดี ?
5 สัญญาณเตือน จากการปวดส่วนต่างๆ
ปวดท้องข้างขวา สัญญาณโรคร้ายที่คุณอาจคาดไม่ถึง !
หากใครมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่อง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ยา และปัญหาเรื่องสุขภาพ สามารถปรึกษาเภสัชกรที่ร้านขายยา Fascino ผ่านระบบเทเลฟาร์มมาซี เรายินดีให้คําปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพทุกช่องทาง
- ปรึกษาง่าย ๆ ไม่ต้องโหลดแอป ได้ที่ https://telepharmacy.fascino.co.th/
- Facebook : https://m.me/fascinohealthcarethailand
- Line : https://lin.ee/3mHf2nZ
- โทร : 02-111-6999