โรคใหลตาย อาการและวิธีป้องกันโรคหลับไม่ตื่น

โรคใหลตาย อาการและวิธีป้องกันโรคหลับไม่ตื่น

โรคใหลตาย หรือ โรคไหลตาย เป็นโรคที่พบเห็นบ่อยในไทย พบบ่อยในภาคอีสานและแรงงานที่ไปทำงานต่างประเทศ โดยจะมีอาการเหนื่อล้า ต้องการพัก แต่ไม่ตื่นขึ้นมาอีกในภายหลัง นอกจากคนทั่วไปแล้ว ยังมีดารานักแสดงที่มีชื่อเสียงเสียชีวิตจากโรคนี้ได้ เช่น แวว จ๊กมก, บีม ปภังกร จึงเป็นอาการที่พบเห็นได้ในหลายกลุ่มอาชีพที่มีความเสี่ยง ทั้งตัวคุณและคนในครอบครัว

 

อาการ

โรคใหลตาย (Sudden arrhythmic death syndrome (SADS)) เป็นโรคในกลุ่มบรูกาดาซินโดรม (Brugada Syndrome, BrS) เกิดจากการปริมาณเกลือแร่ในร่างกายน้อย ขาดน้ำ ส่วนมากผู้ป่วยจะไม่แสดงอาการผิดปกติก่อนจะพบว่าเสียชีวิตขณะหลับ ส่วนใหญ่พบในผู้ชาย อายุช่วง 25-55 ปี และพบในผู้หญิงได้ในบางครั้ง

อาการมีไข้ อ่อนเพลีย เป็นสัญญาณหนึ่งที่บ่งบอกได้ว่ามีความผิดปกติในร่างกาย อาจไม่ได้มาจากโรคทั่วไป แต่จากหัวใจกำลังทำงานผิดปกติ

 

เหตุผลที่ทำให้เสียชีวิต

เกลือแร่จะช่วยทำให้ไฟฟ้าทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการเต้นของหัวใจ โดยมีน้ำมาเป็นตัวช่วยให้การทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายเป็นไปอย่างปกติ

เมื่อสูญเสียเกลือแร่ สารอาหาร น้ำ จำนวนมากอย่างต่อเนื่อง บวกกับการทานแอลกอฮอล์ เป็นไข้ มีโอกาสทำให้หัวใจทำงานผิดปกติจนมีอาการใหลตายได้

 

สาเหตุที่คลื่นไฟฟ้าหัวใจทำงานผิดปกติ

1. ขาดสารอาหารสำคัญ

เป็นสาเหตุหลัก ซึ่งพบบมากทั้งแรงงานไทยที่ไปต่างประเทศ คนอีสาน ซึ่งทานอาหารไม่ครบหมวดหมู่ หรือ ทานแต่อาหารกึ่งสำเร็จรูปมากเกินไป ทำให้ร่างกายเกิดการขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อหัวใจ

  • ขาดแร่ธาตุโพแทสเซียม ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ส่งผลให้หัวใจเต้นแรงขึ้นและเสียชีวิตในที่สุด
  • ขาดวิตามินบี 1 ถ้าขาดอย่างรุนแรงเฉียบพลัน ทำให้คนที่แข็งแรงอยู่ดีๆ รู้สึกอ่อนเพลียและอยากนอน เมื่อหลับแล้วก็หัวใจวายตายเกือบจะทันที โดยโรคนี้สัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาวะทุพโภชนาการ และสุขนิสัยการกินที่ผิด

2. ดื่มน้ำน้อยเกินไป

น้ำเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของร่างกายที่ช่วยให้ร่างกายทำงานได้ดีขึ้น การรับประทานน้ำที่น้อยจนเกินไปจะเพิ่มภาระให้กับร่างกายอย่างมาก

บางคนสูญเสียน้ำจากการออกกำลังกายอย่างหนัก พอเพลียก็พักผ่อนโดยทานน้ำไม่เพียงพอ ก็อาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้

3. ไวรัสจากอาหาร

ไวรัสบางชนิดสามารถเข้าร่างกายผ่านอาหาร พุ่งเป้าไปที่หัวใจ การบริโภคอาหารที่มีสารพิษวันละเล็กน้อย จนเกิดการสะสมและเป็นพิษต่อกล้ามเนื้อหัวใจ จนเสียชีวิตได้

4. ใช้ยานอนหลับเป็นประจำ

ผลจากยานอนหลับที่ต่อเนื่องโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร มีโอกาสกระตุ้นให้เกิดอาการใหลตายได้

5. ไข้ขึ้นสูงแล้วไม่ทานยา

บางรายอาการไข้สูงต่อเนื่อง ตัวร้อน น้ำในร่างกายระเหย แล้วไม่ทานยาลดไข้ ทำให้ปริมาณน้ำและสารอาหารลดจนแสดงอาการโรคใหลตายได้เช่นกัน

 

วิธีการรักษา

ส่วนมากโรคใหลตายเกิดระหว่างหลับ ผู้ป่วยไม่มีอาการผิดปกติมากนัก แทบเหมือนคนปกติ เหมือนเพลียตามปกติ ทำให้คนรอบข้างไม่ระวัง และโอกาสรอดค่อนข้างน้อย

การรักษาผู้ที่หลับไม่ตื่นจากอาการใหลตาย ทำได้โดยการฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจเพื่อกระตุ้นการเต้นหัวใจ โดยให้ผู้มีความชำนาญเรื่องเครื่องมือแพทย์เป็นคนดูแลผู้ป่วย

 

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

  • ถ้าคนใกล้ตัวพบว่าปลุกไม่ตื่น อาจยังพอช่วยได้ โดยจับผู้ป่วยนอนราบ เรียกรถพยาบาล
  • เมื่อประเมินผู้ป่วย หากผู้ป่วยไม่หายใจ หรือ ชีพจรที่คอไม่เต้น ให้กดหน้าอกยุบราว 1.5 นิ้ว แล้วปล่อยให้คลายตัว เป็นชุดในความถี่ราว 100 ครั้ง/นาที จนผู้ป่วยรู้ตัว

ไม่ควรงัดปากคนไข้ด้วยของแข็ง ควรระวังว่าผู้ป่วยอาจมีโรคอื่นของสมอง เช่น ลมชัก โรคหัวใจ ที่เป็นต้นเหตุของการหมดผิดปกติได้

 

แนวทางป้องกัน

  • ทานอาหารให้ครบหมวดหมู่ โดยเฉพาะ ไข่ จะมีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายหลายชนิด ช่วยป้องกันโรคใหลตายได้ อาจทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตามความเหมาะสม
  • ควรดื่มน้ำให้พอเพียง ดื่มน้ำก่อนนอนเล็กน้อย สำหรับคนที่กังวลว่าจะต้องเข้าห้องน้ำตอนดึก ก็ควรทานน้ำในแต่ละวันในปริมาณที่เหมาะสม
  • ระวังการทานอาหารที่มีสารเคมี หรือ ไวรัส ปนเปื้อน ซึ่งอาจส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ จนล้มเหลวได้ ควรปรุงสุกและทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ

 

ถึงอาการใหลตาย จะทำให้ผู้ป่วยจากไปแบบสงบ จนบางคนรู้สึกเหมือนเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่ไม่ทรมาน แต่การขาดสารอาหารอาจทำให้เกิดโรคอื่นที่ทำให้ทรมารกว่าแทน มีบางรายที่ฟื้นได้ทันแล้วอยู่ในสภาพสมองขาดอ๊อกซิเจนเป็นเวลานาน ทำให้เกิดอาการสมองตายได้

ทางที่ดีควรจะเลี่ยงความเสี่ยงการเกิดโรคใหลตายจะดีกว่า ควรทานอาหารให้ครบหมวดหมู่ ให้ความสำคัญกับสารอาหารให้ครบถ้วน จะช่วยให้คุณและคนใกล้ตัวห่างไกลจากโรคใหลตายได้

 

ขอบคุณข้อมูลจาก: Mahidol, Wikipedia, ไทยรัฐ, Drama Addict


รู้จักโรคใหลตายใน 1 นาที สาเหตุ อาการ ป้องกันอย่างไร ?

บรรยาย: ไหลตายหรือภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน เกิดจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ ทําให้หัวใจเต้นผิดปกติหรือว่าเต้นผิดจังหวะ ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงร่างกายแล้วก็สมองไม่เพียงพอ เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน

โรคไหลตาย เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด แล้วก็ที่มันน่ากลัว เพราะว่ามันไม่มีอาการผิดปกติหรืออาการแสดงบอกล่วงหน้าเลย ถึงจะเกิดก็เกิดขึ้นมาเลย
เพราะงั้นต้องระวังให้ดี โดยปัจจัยสําคัญที่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคไหลตายก็คือเรื่องของการกิน ก็คือผู้ที่ขาดวิตามิน B1 หรือว่าผู้ที่รับประทานอาหารที่ปนเปื้อนสารพิษทีละน้อย สะสมต่อเนื่อง จนเป็นพิษต่อกล้ามเนื้อหัวใจ โดยอาการของโรคไหลตาย

ผู้ป่วยก็จะมีอาการเกร็งที่แขนแล้วก็ขา แล้วก็บางรายมีปัสสาวะและอุจจาระ ส่วนใบหน้าและริมฝีปากของผู้ป่วยก็จะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเขียวคล้ำ จากนั้นก็จะเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว ถ้าใคร พบเห็นคนที่มีอาการแบบนี้ ก็ให้เรียกรถฉุกเฉินโดยด่วนเลย


บทความแนะนำ

โรคหูดับ เชื้อแบคทีเรียจากหมู เข้าร่างกายง่าย โอกาสตายสูง

หมอแขวนป้าย และ เภสัชกรแขวนป้าย คืออะไร ?

โรคฉี่หนู อาการ แนวทางการรักษา ต้องระวังอะไรบ้าง

 

หากใครมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่อง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ยา และปัญหาเรื่องสุขภาพ สามารถปรึกษาเภสัชกรที่ร้านขายยา Fascino ผ่านระบบเทเลฟาร์มมาซี เรายินดีให้คําปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพทุกช่องทาง

บทความการดูแลสุขภาพ