"สุขใจที่ได้กิน" "การกินคือความสุข" สำหรับคนทั่วไปประโยคเหล่านี้อาจเป็นเรื่องจริงยิ่งกว่าจริง แต่สำหรับบางคนการกินกลับกลายเป็นความทุกข์สำหรับเขา เพราะเขาควบคุมมันไม่ได้ ใจไม่ได้อยากกินแต่ปากไม่ยอมหยุด ซึ่งอาการแบบนี้ไม่ใช่คนตะกละ แต่เป็นโรคชนิดหนึ่งที่ต้องเข้ารับการรักษาอย่างจริงจัง วันนี้เราจะพาไปรู้จักกับโรคที่ทำให้การกินเป็นทุกข์ นั่นก็คือโรคกินไม่หยุด (Binge-Eating Disorder : BED)
รู้จักโรคกินไม่หยุด
โรคกินไม่หยุด (Binge-Eating Disorder : BED) เป็นโรคที่ผู้ป่วยจะมีพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติไป เช่น แม้ไม่หิวก็ยังกิน กินปริมาณมาก แต่เมื่อกินเสร็จก็จะรู้สึกไม่ดีหรือรู้สึกผิด โดยโรคกินไม่หยุดนั้นส่งผลต่อพฤติกรรมการกิน สุขภาพร่างกาย และสุขภาพจิตอีกด้วย แต่อย่าเข้าใจผิดว่าคนเป็นโรคกินไม่หยุดต้องเป็นคนอ้วนเท่านั้น เพราะผู้ป่วยบางคนอาจมีน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานได้เช่นเดียวกัน โรคกินไม่หยุดนี้หากปล่อยไว้ไม่รักษา อาจทำให้เกิดโรคร้ายแรงอื่นๆ ตามมาได้
โรคกินไม่หยุด มีอาการยังไง ?
อาการของโรคกินไม่หยุดนั้นมีความหลากหลายมาก บางครั้งผู้ป่วยอาจไม่ใช่อาการทางกายเพียงอย่างเดียว แต่หมายรวมถึงอาการทางจิตได้ด้วย โดยผู้ป่วยจะรู้สึกผ่อนคลายเมื่อได้กินอาหารปริมาณมาก แต่หลังจากกินเสร็จแล้วจะกลายเป็นรู้สึกผิดหรือรู้สึกแย่กับตัวเองแทน ตัวอย่างอาการของโรคกินไม่หยุด มีดังนี้
● กินอาหารมากกว่าปกติ
● กินอาหารปริมาณมากจนรู้สึกแน่นและไม่สบายตัว
● กินอาหารปริมาณมากทั้งที่ไม่ได้หิว
● แอบกินอาหารคนเดียวหรือแอบกินอาหารโดยไม่ให้คนอื่นรู้
● รู้สึกผิดกับตัวเองหลังจากกินอิ่ม
นอกจากอาการต่างๆ ที่เกิดจากโรคกินไม่หยุดแล้ว ภาวะแทรกซ้อนที่อาจตามมาก็อันตรายไม่แพ้กัน หากปล่อยให้ตัวเองรับประทานอาหารปริมาณมากติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจนำไปสู่โรคอื่นได้อีก เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคซึมเศร้า โรคไบโพลาร์ หรือใช้สารเสพติด เป็นต้น ซึ่งปัญหาต่างๆ ล้วนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตทั้งสิ้น
โรคกินไม่หยุด มีอาการยังไง ?
อาการของโรคกินไม่หยุดนั้นมีความหลากหลายมาก บางครั้งผู้ป่วยอาจไม่ใช่อาการทางกายเพียงอย่างเดียว แต่หมายรวมถึงอาการทางจิตได้ด้วย โดยผู้ป่วยจะรู้สึกผ่อนคลายเมื่อได้กินอาหารปริมาณมาก แต่หลังจากกินเสร็จแล้วจะกลายเป็นรู้สึกผิดหรือรู้สึกแย่กับตัวเองแทน ตัวอย่างอาการของโรคกินไม่หยุด มีดังนี้
● กินอาหารมากกว่าปกติ
● กินอาหารปริมาณมากจนรู้สึกแน่นและไม่สบายตัว
● กินอาหารปริมาณมากทั้งที่ไม่ได้หิว
● แอบกินอาหารคนเดียวหรือแอบกินอาหารโดยไม่ให้คนอื่นรู้
● รู้สึกผิดกับตัวเองหลังจากกินอิ่ม
นอกจากอาการต่างๆ ที่เกิดจากโรคกินไม่หยุดแล้ว ภาวะแทรกซ้อนที่อาจตามมาก็อันตรายไม่แพ้กัน หากปล่อยให้ตัวเองรับประทานอาหารปริมาณมากติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจนำไปสู่โรคอื่นได้อีก เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคซึมเศร้า โรคไบโพลาร์ หรือใช้สารเสพติด เป็นต้น ซึ่งปัญหาต่างๆ ล้วนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตทั้งสิ้น
สาเหตุของโรคกินไม่หยุด
ในปัจจุบันเรายังไม่รู้ถึงสาเหตุที่แท้จริงของโรคกินไม่หยุดนี้ แต่ดูเหมือนมีสาเหตุบางอย่างที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ ตัวอย่างเช่น
● เพศ: จากข้อมูลของประเทศสหรัฐอเมริกาบอกไว้ว่า ผู้หญิงกว่า 3.6% ในสหรัฐเคยประสบภาวะดังกล่าว ส่วนผู้ชายที่เคยมีภาวะดังกล่าวมีเพียง 2% เท่านั้น
● พันธุกรรม: ผู้มีภาวะกินไม่หยุดอาจมีความไวต่อโดปามีนเพิ่มขึ้น โดยโดปามีนเป็นสารแห่งความสุขชนิดหนึ่งที่สมองหลั่งออกมา ถือเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นว่าภาวะนี้สืบทอดทางพันธุกรรมได้
● ความเปลี่ยนแปลงในสมอง: มีข้อบ่งชี้ว่า ผู้ที่มีภาวะกินไม่หยุดอาจเกิดความเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างสมอง ซึ่งส่งผลให้ร่างกายตอบสนองต่ออาหารสูงขึ้น และควบคุมตัวเองได้น้อยลง
● น้ำหนักตัว: ปัญหาน้ำหนักตัวอาจเป็นได้ทั้งสาเหตุและผลของโรคกินไม่หยุด โดยผู้ที่ประสบปัญหากินไม่หยุดกว่า 50% มีภาวะอ้วน และ 25-50% ของผู้ป่วยที่มองหาการผ่าตัดลดน้ำหนัก มีเกณฑ์เป็นโรคกินไม่หยุด
● รูปร่าง: ผู้ที่มีภาวะกินไม่หยุด มักจะมีปัญหาเกี่ยวกับภาพลักษณ์ ไม่พอใจในรูปร่างตัวเอง กำลังไดเอท หรือกินมากเกินไป
● กินจุ: พฤติกรรมกินจุหรือกินเยอะนั้นมักเป็นอาการแรก ๆ ของภาวะกินไม่หยุด ซึ่งหมายรวมถึงพฤติกรรมกินจุที่เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยเด็กหรือวัยรุ่นด้วย
● บาดแผลทางใจ: ประสบการณ์เลวร้ายในชีวิตอาจเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคกินไม่หยุดได้ เช่น การโดนกลั่นแกล้งในวัยเด็ก การแยกจาก อุบัติเหตุ หรือความตายของสมาชิกในครอบครัว เป็นต้น
● ปัญหาสุขภาพจิต: ผู้ป่วยโรคกินไม่หยุดเกือบ 80% มีปัญหาด้านสุขภาพจิตอย่างน้อย 1 อย่าง เช่น โรคซึมเศร้า โรคกลัว โรคเครียด โรคไบโพลาร์ เป็นต้น
โรคกินไม่หยุดรักษาได้ไหมป้องกันยังไง ?
การรักษาโรคกินไม่หยุดนั้นสามารถทำได้หลายวิธี เบื้องต้นควรไปปรึกษาแพทย์ก่อนเพื่อให้แพทย์วินิจฉัยวิธีการรักษาที่เหมาะกับแต่ละคน เช่น รักษาด้วยการใช้ยา รักษาด้วยวิธีจิตบำบัด ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน เป็นต้น
แม้ปัจจุบันจะยังไม่มีวิธีป้องกันโรคกินไม่หยุด แต่เราอาจใช้วิธีสังเกตพฤติกรรมของตนเองและคนรอบข้างแทน ว่ามีความเสี่ยงต่อโรคนี้หรือไม่ หากมีความเสี่ยงควรรีบเข้ารับการรักษาโดยเร็ว
โรคกินไม่หยุดเป็นภาวะอันตรายไม่ควรปล่อยปละละเลย เพราะโรคนี้อาจเป็นสาเหตุของโรคร้ายแรงอื่นๆ ได้อีกหลายชนิด ทั้งโรคทางร่างกายและปัญหาทางจิตใจ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตและประสิทธิภาพในการทำงานโดยรวมอีกด้วย ดังนั้น หากใครสังเกตว่าตนเองหรือคนใกล้ตัวกินเยอะผิดปกติ หรือมีพฤติกรรมที่เข้าข่ายว่าอาจเป็นโรคกินไม่หยุด ควรรีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี หรือปรึกษาเภสัชกรที่ฟาสซิโนได้ทุกสาขา เราให้คำปรึกษาทุกเรื่องสุขภาพและการใช้ยา
อ่านอะไรต่อดี
กินยาจนหายป่วย แล้วหยุดยาเลยได้ไหม
ยาฉีดดีกว่ายากิน จริงหรือไม่
แคลเซียมผสมวิตามินรวม ดีอย่างไร ช่วยด้านไหนบ้าง
หากใครมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่อง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ยา และปัญหาเรื่องสุขภาพ สามารถปรึกษาเภสัชกรที่ร้านขายยา Fascino ผ่านระบบเทเลฟาร์มมาซี เรายินดีให้คําปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพทุกช่องทาง