โพวิโดน ไอโอดีน สารช่วยลดโอกาสติดโควิด จริงหรือไม่ ?

โพวิโดน ไอโอดีน สารช่วยลดโอกาสติดโควิด จริงหรือไม่ ?

เคยเป็นที่พูดถึงเมื่อกลางเดือนสิงหาคม ปี 2563 ว่า กลั้วคอด้วย โพวิโดน ไอโอดีน เพื่อลดโอกาสติดโควิดสูง เคยมีงานวิจัยจากต่างประเทศอย่างในอเมริกาและญี่ปุ่น ออกมารองรับถึงประสิทธิภาพการป้องกันไวรัสต่างๆ และเชื่อว่ารวมถึงโควิดด้วย แต่กระแสข่าวก็เงียบหายไป น่าจะเป็นเพราะการระบาดในไทยช่วงปีก่อนยังคงไม่ถึงขั้นรุนแรง จนถึงปี 2564 การแพร่ระบาดกลายเป็นวงกว้าง ผู้ป่วยเพิ่มจำนวนมากกว่าปีก่อนหลายเท่า จนทำให้เกิดปัญหาเตียงคนไข้ไม่เพียงพอ ผู้ป่วยต้องรักษาตัวที่บ้าน หายาสามัญประจำบ้านมาบรรเทาอาการ จนการกลั้วคอด้วย โพวิโดน ไอโอดีน หรือ เบต้าดีนกลั้วคอ กลายเป็นหนึ่งในสิ่งที่มีคนกลับมาพูดถึงอีกครั้ง ซึ่งเป็นยาที่หาซื้อได้ตามทั่วไป จนกลายเป็นกระแสในโลกโซเชียล แต่ก็มีการออกมาเตือนถึงการอวดอ้างสรรพคุณป้องกันโควิด-19 มาทำความเข้าคุณสมบัติของสารชนิดนี้กัน

 

โพวิโดน ไอโอดีน

สารโพวิโดน ไอโอดีน (Povidone Iodine) มีคุณสมบัติ เป็นสารระงับเชื้อ (Antiseptic) ซึ่งจะออกฤทธิ์ระงับเชื้อก่อโรคได้เป็นวงกว้าง ครอบคลุมเชื้อได้หลากหลาย ทั้งไวรัส แบคทีเรีย โปรโตซัว และเชื้อรา รวมถึงไวรัส โดยทำให้เชื้อลดจำนวนลงจนไม่สามารถก่อโรค แต่ไม่ถึงกับฆ่าเชื้อให้ตายเกลี้ยง ทำให้มีโอกาสดื้อยาน้อยกว่า "ยาปฏิชีวนะ" หรือ "ยาต้านจุลชีพ" (Antibiotic หรือ Antimicrobial) ที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงกับเชื้อโรค เช่น แบคทีเรีย เป็นต้น

สำหรับคนทั่วไป น่าจะเคยกลั้วคอ หลอดลม ด้วย โพวิโดน ไอโอดีน มาก่อน ซึ่งในไทยมีการนำมาใช้เพื่อบ้วนปากก่อนการทำฟัน ในคลินิกและโรงพยาบาล มีลักษณะเป็นน้ำสีดำ

เมื่อช่วงกลางปี 2563 มีการตีพิมพ์รายงานว่า ตัวยาโพวิโดน ไอโอดีน (Povidone Iodine หรือ PVP-I) ที่ผ่านมาได้รับการยอมรับถึงประสิทธิภาพในหลอดทดลอง ต่อการฆ่าเชื้อไวรัสต่างๆ รวมถึงเชื้อโคโรน่าไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคระบาดสำคัญ อย่างโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (MERS) และโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS) โดยตัวยา โพวิโดน ไอโอดีน (Povidone Iodine หรือ PVP-I) มีประสิทธิภาพสูงในการจัดการกับจุลินทรีย์ประเภทต่าง ๆ ทั้งแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา จนมีการนำไปใช้ในโรงพยาบาลอย่างแพร่หลาย [ที่มา: Workpoint Today]

สารโพวิโดน ไอโอดีน มีหลายชื่อเรียกในไทย ที่รู้จักกันดี คือ เบตาดีนชนิดกลั้วคอ (ฺBetadine) และ โพรโพลิส (Propolis) ส่วนสารชนิดอื่นๆ ควรสอบถามทางเภสัชกรที่ร้านยาใกล้บ้าน

 

วิธีการใช้งาน

  • หากไม่สบาย เจ็บคอ ใช้กลั้วคอลดเชื้อร่วมกับยาลดไข้ หรือ ยาแก้ไอตามปกติ
  • กลั้วคอได้ทุกวัน ครั้งละ 30 วินาที หรือ ใช้แบบสเปรย์ในการทำความสะอาด

 

อันตรายและข้อควรระวัง

  • ห้ามกลั้วคอด้วย เบตาดีนแบบที่ใช้ทาแผลโดยเด็ดขาด (รวมถึงทำให้เจือจางก็ห้ามเข้าปาก) ต้องเป็นเบต้าดีนกลั้วคอ
  • กรณีเผลอกลืนแบบที่ใช้ในช่องปาก ลงไป ไม่เป็นอันตราย แต่ไม่ควรกลืนบ่อยเกินไป เพราะจะมีการสะสมในร่างกาย เป็นอันตรายต่อต่อมไทรอยด์
  • คนที่เป็นไทรอยด์และแพ้อาหารทะเล ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้

 

ทาภายนอก ความเข้มข้นต่างกับที่ใช้ภายใน

โพวิโดน ไอโอดีน หรือในไทยส่วนใหญ่รู้จักในชื่อ เบตาดีน ส่วนใหญ่รู้จักในฐานะยาทาแผล ยาทาทำความสะอาดภายนอก แต่มีผลิตภัณฑ์หลายแบบที่เหมาะกับใช้ภายใน

  • ยาทาแผล มีตัวยาเข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์
  • ยาทำความสะอาดภายนอก มีความเข้มข้น 7 เปอร์เซ็นต์
  • น้ำยาบ้วนปาก มีความเข้มข้น 1 เปอร์เซ็นต์
  • สเปรย์พ่นคอ มีความเข้มข้น 0.45 เปอร์เซ็นต์

 

วิธีเลือกซื้อ

สารพ่นช่องปากมีหลายชนิด หลายยี่ห้อที่ใช้ชื่อทางการค้าที่แตกต่างกัน ที่คุ้นชื่อกันดี มี 2 ยี่ห้อ

  • เบตาดีนชนิดกลั้วคอ (ฺBetadine)
  • โพรโพลิส (Propolis)

ทางที่ดี ควรสอบถามทางเภสัชกรที่ร้านขายยา เพื่อความมั่นใจว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสารเหล่านี้เป็นส่วนประกอบ

 

การกลั้วคอทั่วไป

การกลั้วคอเป็นงานวิจัยที่ถูกพูดถึงมากในต่างประเทศ ด้วยสารต่างๆ ใช้เพียงทำความสะอาดช่องปากเท่านั้น ไม่มีผลในการฆ่าไวรัสที่ดีพอ

  • การกลั้วคอด้วยน้ำอุ่นผสมเกลือ
  • น้ำผึ้ง มะนาว ผสมสมุนไพรต่างๆ
  • น้ำส้มสายชู
  • แอลกอฮอล์

สำหรับการกลั้วด้วยน้ำยาบ้วนปากทั่วไป เคยมีการทดสอบว่าสามารถลดไวรัสได้เช่นกัน ซึ่งต้องรอประมาณ 2 นาทีหลังกลั้วปาก เพื่อให้น้ำยาบ้วนปากระเหย ถึงจะมีประสิทธิภาพเต็มที่ [ที่มา: Medicalnewstoday]

 

กระแสที่ทำให้พูดถึง

คลิปจากรายการถกไม่เถียง ทางช่อง 7 ที่ออกอากาศวันที่ 23 เมษายน พ.ศ.2564

นพ.ธรณัส กระต่ายทอง ที่ปรึกษาศูนย์เวชศาสตร์ชะลอวัย รพ.วิภาวดี มีเนื้อหาโดยสรุปดังนี้ "การกลั้วคอเป็นเรื่องสำคัญมาก ที่หลายคนไม่รู้ว่าเป็นการช่วยป้องกันได้ อย่างบ้านเรามีสาร โพวิโดน-ไอโอดีน เช่น ยี่ห้อ เบตาดีนชนิดกลั้วคอ หรือ น้ำดำๆที่หมอฟันใช้กัน (ห้ามเอาเบตาดีนใส่แผลมาใช้) หรือสารอีกชนิดหนึ่งคือ โพรโพลิส มาใช้กลั้วคอ ป้องกันโควิด-19 ได้ ส่วนคนที่เป็นอยู่แล้วช่วยลดรุนแรงได้ โดยช่วยฆ่าไวรัสที่คอไม่ให้ลงไปที่ปอดได้ (แต่รักษาไม่ได้) ซึ่งจะต่างกับน้ำเกลือที่นำมากลั้วคอ น้ำเกลือนี่แค่ชะล้าง ไม่ได้ฆ่าเชื้อ แต่สารพวกนี้จะช่วยในการฆ่าเชื้อด้วย สำหรับวิธีใช้ โพวิโดน-ไอโอดีน ให้หยดแค่ 2-3 หยดผสมน้ำที่ใช้กลั้วคอ คนที่ต้องระวังคือคนที่เป็นไทรอยด์ และแพ้อาหารทะเล หาซื้อได้ในร้านยาใกล้บ้านโดยไม่ต้องให้แพทย์สั่งจ่ายยา" Link รายการเต็ม (ในคลิปนาทีที่ 38.00)

 

อ.ย. เตือนไม่ได้รับรองผลในการป้องกันโควิด

หลังคลิปมีการพูดถึง มีหลายสื่อมีการออกมาคัดค้านผลลัพธ์ของการใช้สารชนิดนี้ ที่เดิมเป็นเพียงยาฆ่าเชื้อโรคในช่องปากเพื่อป้องกันเชื้อโรคทั่วไป ไม่ได้เจาะจงโควิด

"สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ยืนยันว่า ไม่เคยอนุญาตให้ยายี่ห้อนี้โฆษณาว่าป้องกันโควิด-19 ได้ แต่ในยาตัวนี้มีสารโพวิโดน ไอโอดีน ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยฆ่าเชื้อโรค แต่ก็ยังไม่มีผลการศึกษาทางวิชาการที่ชัดเจน ว่ายาชนิดนี้สามารถยับยั้ง หรือฆ่าเชื้อโควิดได้เช่นกัน

และ อย. ก็ไม่แนะนำให้ประชาชนนำมาใช้ป้องกัน หรือรักษาโควิด เพราะอาจมีผลข้างเคียง หากใช้บ่อย ๆ จะไปฆ่าเชื้อโรคประจำตัวเรา ทำให้เกิดเชื้อโรคตัวใหม่อื่น ๆ ที่ทำให้ร่างกายกำจัดออกไม่ได้" (ที่มา: ช่อง 7)

 

ใน Facebook ของ อาจารย์เจษฎ์ ได้โพสถึงการนำกรณีที่ใช้คลิปที่ได้รับความนิยมสูงใน Tiktok มาใช้โฆษณาขายสินค้าประเภทสเปย์ฉีดพ่นในปากและลำคอ จนมีราคาพุ่งสูงขึ้นเกินจริง มีการเตือนว่าไม่มีสรรพคุณเจาะจงในการป้องกันหรือฆ่าโควิดอย่างใด

 

ชัวร์ก่อนแชร์ : กลั้วคอ ด้วย โพรวิโดนไอโอดีน ป้องกันโควิดลงปอด จริงหรือ ?

 

สรุป

ในคลิปต้นข่าว เป็นเพียงคำแนะนำในการป้องกันตนจากโควิด และมีหลายข่าวอ้างถึงงานวิจัยของต่างประเทศ ทั้งสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ซึ่งช่วยเพิ่มการป้องกันตัวอีกขั้น แต่ไม่มีผลในการรักษาและป้องกันไม่ได้ 100%

ดังนั้น การกลั้วคอ เป็นเพียงทางเลือก เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่อาจเข้าร่างกายผ่านหู ตา จมูก ปาก ซึ่งเป็นช่องทางหลักไปสู่ปอด เท่านั้น โดยยังไม่มีผลการรับรองในการป้องกันโควิด-19 ได้

การป้องกันด้วยวิธีทั่วไป อย่าง การล้างมืออย่างถูกวิธี สวมหน้ากากอนามัย รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ควบคุมน้ำหนักตัว เว้นระยะห่างทางสังคม ตรวจเช็คด้วยการวัดอุณหภูมิร่างกาย หรือ วัดออกซิเจนปลายนิ้วอยู่เสมอ ติดตามข่าวสารอัพเดตเสมอ ยังคงเป็นเรื่องที่จำเป็นในการป้องกันไวรัสที่น่าจะยังอยู่กับเราไปอีกนาน

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : นายแพทย์ ภาวิน เกษกุล หัวหน้าภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาลและประธานคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (อฝส) สาขาโสต ศอ นาสิกวิทยา ราชวิยาลัย โสต ศอ นาสิกแพทย์แห่งประเทศไทย, นพ.ธรณัส กระต่ายทอง ที่ปรึกษาศูนย์เวชศาสตร์ชะลอวัย รพ.วิภาวดี

ที่มาของข่าว/บทความ : Mthai, Workpoint Today, 2
รูปปกจาก: Pixabay


สามารถสอบถามปัญหาสุขภาพ ปัญหาเรื่องยา โรคทั่วไป กับเภสัชกรได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ร้านยา Fascino ที่มีกว่าร้อยสาขาทั่วประเทศ หรือสอบถามออนไลน์ได้ที่

  • Facebook / Line / โทร : 02-111-6999 (เวลาทำการ 8.00-18.00 น. ทุกวัน)

บทความการดูแลสุขภาพ