พืชกระท่อม ข้อดีหลังการปลดล็อก และประโยชน์ทางการแพทย์

พืชกระท่อม ข้อดีหลังการปลดล็อก และประโยชน์ทางการแพทย์

พืชกระท่อม เป็นพืชที่พบมากทางใต้ของประเทศไทย ไปจนถึงเขตชายแดง เป็นไม้ยืนต้นที่มีถิ่นกำเนิดทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิยมเคี้ยวใบสด หรือ ต้มเป็นชา เพื่อกระตุ้นให้ทำงานได้โดยไม่เมื่อยล้า โดยเฉพาะกลุ่มทำสวน ทำนา ถึงจะเป็นพืชพื้นบ้าน แต่ถูกกำหนดว่าผิดกฎหมาย ห้ามนำมาใช้เป็นเวลานาน และมีการผลักดันให้ปลูกได้มาเกือบศตรรษ

กฎหมายพืชกระท่อมผ่านสภา ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2564 แต่ยังไม่สามารถปลูกเสรีได้ จนกว่าจะมี ราชกิจจานุเบกษา ซึ่งประกาศอย่างเป็นทางการในวันที่ 26 พ.ค. 2564 และจะมีผลใน 90 วันนับจากประกาศ หรือ มีผลตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไป

 

ยกเลิกเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5

ในวันที่ 26 พ.ค. ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 8 พ.ศ.2564

ใจความสำคัญ คือ โดยที่ปัจจุบันพืชกระท่อมเป็นยาเสพติด ให้โทษในประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 แต่ในหลายประเทศมิได้กำหนดให้ พืชกระท่อมเป็นยาเสพติดให้โทษ 

เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสากลและบริบทของสังคมไทยในบางพื้นที่ ที่มีการบริโภคพืชกระท่อม ตามวิถีชาวบ้าน สมควรยกเลิกพืชกระท่อมจากการเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5

ราชกิจจาฯ ประกาศปลดล็อกฉบับเต็มอ่านได้ที่ ราชกิจจานุเบกษา

 

หลังประกาศยังไม่มีผลทันที มีผล 90 วันหลังจากประกาศ หรือ ในวันที่ 24 สิงหาคม 2564 กระท่อมจะเป็นพืชไม่ผิดกฎหมาย

  • สามารถรับประทานใบสด ต้ม ขายได้
  • ห้ามนำไปผสมกับยาเสพติดชนิดอื่น เช่น พวก สารเสพติดชนิด4x100
  • ห้ามจำหน่ายให้เยาวชน

ทั้งนี้ เพราะ ใบกระท่อม เป็นสารตั้งต้นสำคัญของยาเสพติด สี่คูณร้อย โดยผสมน้ำกระท่อมต้มร่วมกับสารอื่นๆ เช่น ยาแก้ไอ เป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่น บ่อยครั้งกระตุ้นให้ลองยาเสพติดชนิดอื่นที่แรงขึ้น

ทำให้การนำกระท่อมไปผสมร่วมกับยาเสพติดอื่นเป็นข้อห้าม และผิดกฎหมาย ถือเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 3

ยกเลิก “พืชกระท่อม” - สำนักงานกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา

 

ประโยชน์ของใบกระท่อม

ด้านการแพทย์

  • มีสาร ไมตราเจนีน ออกฤทธิ๋ต่อระบบประสาทส่วนกลาง ช่วย ให้กระปรี้กระเปร่า ลดอาการปวดเมื่อย
  • นำไปใช้บรรเทาอาการปวดแทนมอร์ฟรีน
  • ใช้บำบัดผู้ติดยาเสพติด
  • สมัยโบราณใช้บรรเทาอาการไอ แก้ปวดเมื่อย ท้องเสีย

 

ด้านสังคมและเศรษฐกิจ

  • สร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้าน กระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน
  • ลดคดีเกี่ยวกับกระท่อม และช่วยประหยัดงบประมาณรัฐไปได้อีกทาง

 

ข้อเสียของใบกระท่อม

  • ทำให้ไม่อยากอาหาร (ไม่เหมาะใช้ในการควบคุมน้ำหนัก)
  • ผอม หรือขาดสารอาหาร
  • ท้องผูก
  • ปัสสาวะบ่อย
  • นอนไม่หลับ

 

ในเบื้องต้น การปลูกกระท่อมจะไม่ซับซ้อน ไม่ต้องขอใบอนุญาติ เหมือนกรณีของ กัญชง เพียงแต่ห้ามจำหน่ายให้เยาวชนและนำไปผสมกับสารชนิดอื่น ทั้งนี้ ประชาชนที่สนใจปลูกในครัวเรือน ควรติดตามความคืบหน้ากันจนกว่าจะถึงวันที่ปลดล็อคเต็มที่ สำหรับ กฎหมาย และข้อจำกัดต่างๆ เกี่ยวกับการปลูกกระท่อมในครัวเรือน ติดตามข่าวสารและความคืบหน้าจากหน่วยงานต่างๆ กันต่อไป

 

คุยเฟื่องเรื่องกระท่อม - สำนักงาน ป.ป.ส. กระทรวงยุติธรรม

 

ขอบคุณข้อมูลจาก 

 

ดีเดย์ 24 ส.ค.ปลดล็อก 'พืชกระท่อม' ปล่อยผู้กระทำผิด ดันเป็นพืชเศรษฐกิจ ปลูกร่วมสวนยาง

 

บทความแนะนำ

บทความการดูแลสุขภาพ