ไข้มาลาเรีย โนวไซ ติดจากลิง แพร่เชื้อเร็ว

ไข้มาลาเรีย โนวไซ ติดจากลิง แพร่เชื้อเร็ว

ช่วงผ่อนคลายมาตรการป้องกันไวรัส การท่องเที่ยวเริ่มกลับมาคึกคักมากขึ้น โรคภัยจากการเดินทางทั้งท่องเที่ยว หรือ ไปเยี่ยมญาติที่ต่างจังหวัด ก็มีแนวโน้มที่จะพบมากขึ้น ถ้าเจออาการไข้ ไม่ใช่แค่โควิด-19 เท่านั้น แต่อาจเป็นโรคอื่น อย่าง มาลาเรีย ที่ถือว่าอันตราย โดยเฉพาะ มาลาเรียโนวไซ ที่แพร่ระบาดมากขึ้นในปี 2565 

 

สาเหตุของมาลาเรีย

มาลาเรีย (Malaria) คือ โรคที่เกิดจากเชื้อโปรโตซัวแพร่สู่ร่างกายคนจากการกัดของยุงก้นปล่องเพศเมีย เกิดจากการติดเชื้อโปรโตซัวที่เรียกว่า พลาสโมเดียม (Plasmodium) มียุงก้นปล่องเพศเมียเป็นพาหะ โดยเชื้อโปรโตซัวพลาสโมเดียม (Plasmodium) มีอยู่หลายชนิดด้วยกัน

โนวไซ (Plasmodium knowlesi) เป็นโรคไข้มาลาเรียที่ติดต่อจากลิงสู่คน โดยยุงก้นปล่องกัดลิงที่มีเชื้อแล้วมากัดคน แบ่งตัวในร่างกายคนได้เร็วและมากกว่าเชื้อชนิดอื่น

ลิงที่เป็นสัตว์รังโรค (สัตว์สะสมโรค แล้วมีพาหะแพร่เชื้อมาสู่คน) ในไทย ได้แก่ ลิงกัง ลิงวอก ลิงเสน ลิงแสม และลิงอ้ายเงี๊ยะ

พบรายงานผู้ป่วยในไทยครั้งแรกเมื่อปี 2547 พบปีละประมาณ 10 รายมาตลอด และเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมาช่วงต้นปี 2565 โดยพบถึงประมาณ 70 คน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก โดยจังหวัดที่พบผู้ป่วยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดระนอง สงขลา และตราด

 

อาการที่พบได้

ไข้มาลาเรียโนวไซ อาการส่วนใหญ่คล้ายมาเลเรียทั่วไป

  • ไข้สูง
  • ปวดศีรษะ
  • หนาวสั่น
  • เหงื่อออกมาก

ถ้าพบอาการเหล่านี้ และผู้ป่วยเพิ่งไปเที่ยวบริเวณป่า บริเวณใกล้เคียง หรือมีอาการหลังโดนยุงกัด ให้รีบไปหาแพทย์โดยเร็ว

 

ถึงมาเลเรียโนวไซ จะมีอาการแสดงได้เร็วกว่ามาลาเรียทั่วไป แต่สามารถใช้ยารักษาเดิมได้ ซึ่งต้องติดต่อสถานพยาบาลเท่านั้น การรับประทานยาทั่วไปจากร้านขายยาไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้

หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422


ขอบคุณข้อมูล: Thairath, Pobpad
ภาพประกอบ: Freepik

 

บทความสุขภาพน่ารู้

สิ่งที่มักเข้าใจผิดเรื่องไข้เลือดออก และแนวทางป้องกัน

กินยาดักไข้ แก้ปวด ก่อนไปฉีดวัคซีนโควิด-19 กันป่วยหนักได้ไหม

ปรอทวัดไข้ แบบแก้วกับแบบดิจิตอล ต่างกันอย่างไร แบบไหนดีกว่า ?

 

บทความการดูแลสุขภาพ