ยาคุมฉุกเฉิน กินบ่อยอันตราย จริงหรือ ?

ยาคุมฉุกเฉิน กินบ่อยอันตราย จริงหรือ ?

การคุมกำเนิดในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นวิธีที่ต้องอาศัยหัตถการทางการแพทย์ เช่น การทำหมัน ใส่ห่วงคุมกำเนิด แต่ในบางครั้งวิธีเหล่านี้ค่อนข้างยุ่งยาก และอาจทำให้ไม่สามารถกลับมามีลูกได้เมื่อถึงเวลาที่ต้องการ การใช้ยาคุมกำเนิดแบบรายเดือนและยาคุมฉุกเฉินจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ป้องกันการตั้งครรภ์มากขึ้น แต่บางคนอาจเคยได้ยินข้อมูลที่ว่า “กินยาคุมฉุกเฉินมากเกินไป อันตรายต่อร่างกาย” แล้วเกิดความกังวล ซึ่งความจริงแล้วการกินยาคุมฉุกเฉินบ่อย ๆ อันตรายจริงไหม ? อย่างไร ? หาคำตอบได้จากบทความนี้

 

ประสิทธิภาพของยาคุมฉุกเฉิน

“ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน” (Emergency Contraception Pill) สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 80 – 95% ซึ่งคำว่าฉุกเฉินในที่นี้อาจหมายถึง การมีเพศสัมพันธ์ทั้งยินยอมและไม่ยินยอมโดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย หรือถุงยางอนามัยมีการฉีกขาด รั่วซึม รวมถึงกรณีที่ขาดการรับประทานยาคุมกำเนิดแบบรายเดือนติดต่อกันเกินกว่า 3 วัน โดยประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์จะลดลงตามระยะเวลาการใช้ยา และไม่ได้มีผลทำให้แท้งในกรณีที่มีการตั้งครรภ์ไปแล้ว

 

วิธีกินยาคุมฉุกเฉินที่ถูกต้อง

ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินเป็นยาคุมกำเนิดชนิดเม็ดที่ประกอบด้วยฮอร์โมนโปรเจสตินซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชายเพียงชนิดเดียว มีทั้งรูปแบบรับประทาน 1 เม็ด ประกอบด้วย Levonorgestrel 1.50 มิลลิกรัม และรูปแบบรับประทาน 2 เม็ด Levonorgestrel 0.75 มิลลิกรัม ทางองค์การอนามัยโลกได้ให้ข้อมูลไว้ว่าสามารถทานได้หลังจากมีเพศสัมพันธ์ไปนานที่สุด 5 วัน แต่ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดก็ควรรับประทานให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยไม่เกิน 72 ชั่วโมงหรือ 3 วันหลังจากการมีเพศสัมพันธ์ในครั้งนั้น ๆ เพื่อให้การคุมกำเนิดมีประสิทธิภาพสูงสุด 

สำหรับยาคุมกำเนิดฉุกเฉินที่มี 2 เม็ด ใน 1 กล่อง ให้รับประทานเม็ดที่ 2 ห่างจากรับประทานเม็ดแรกไป 12 ชั่วโมง ตัวยาจะเข้าไปป้องกันหรือยับยั้งการตกไข่ ทำให้ไม่เกิดการตั้งครรภ์ ซึ่งการรับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉินอาจเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาได้ ไม่ว่าจะเป็นอาการคลื่นไส้ อาเจียน มีเลือดออกกะปริดกะปรอย รอบประจำเดือนเปลี่ยน หรือบางคนอาจมีอาการคัดตึงเต้านมได้

 

ยาคุมฉุกเฉิน กินบ่อย ๆ ไม่ดีจริงหรือ ? 

หลายคนตั้งคำถามว่า “กินยาคุมฉุกเฉินบ่อย ๆ ไม่ดีจริงหรือ” คำตอบคือ จริง แม้ว่ายาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินจะลดความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ได้ แต่หากการรับประทานบ่อยเกินความจำเป็น อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงจากยามากขึ้น ดังนั้นจึงไม่ควรรับประทานยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินเกิน 2 กล่องต่อเดือน ควรใช้ยามจำเป็นเท่านั้น 

 

นอกจากนี้ ยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินยังไม่สามารถป้องกันการโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ ดังนั้นหากเป็นไปได้ควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์เพื่อลดความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ อีกทั้งยังป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้อีกด้วย 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก who.int / pharmscphub.com 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

 

หากใครมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่อง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ยา และปัญหาเรื่องสุขภาพ สามารถปรึกษาเภสัชกรที่ร้านขายยา Fascino ผ่านระบบเทเลฟาร์มมาซี เรายินดีให้คําปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพทุกช่องทาง

บทความการดูแลสุขภาพ