ไทรอยด์เป็นพิษ บำรุงด้วยอาหาร 5 ชนิด พิชิตโรคร้าย

ไทรอยด์เป็นพิษ บำรุงด้วยอาหาร 5 ชนิด พิชิตโรคร้าย

ทรอยด์เป็นพิษ หรือภาวะไฮเปอร์ไทรอยด์ คือภาวะที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์มากกว่าปริมาณที่ร่างกายต้องการ ทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานหนักมากเกินไป ซึ่งต่อมไทรอยด์นี้มีผลต่อระบบเผาผลาญของร่างกายและการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น การเต้นของหัวใจ อารมณ์ น้ำหนักตัว การควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย การหายใจ ฯลฯ ซึ่งหลายๆคนที่เป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษ ก็มักจะกังวลเรื่องอาหารการกินว่า อะไรกินได้บ้าง จะเป็นอันตรายต่อต่อมไทรอยด์มั้ย วันนี้เภจะมาแนะนำอาหารที่ดีมีประโยชน์ต่อต่อมไทรอยด์ว่ามีอะไรบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ

 

  • ไอโอดีน : ไอโอดีนช่วยให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนต่าง ๆ ได้เป็นปกติ อาหารที่มีไอโอดีนมากเช่น อาหารทะเลจำพวกปลา กุ้ง หอยกาบ หอยนางรม สาหร่ายทะเล ไข่ กระเทียม หน่อไม้ฝรั่ง ผักโขม และเห็ด

 

  • วิตามินบี : วิตามินบี 2, วิตามินบี 3 และวิตามินบี 6 เป็นวิตามินที่สำคัญกับการทำงานของระบบต่อมไทรอยด์ และยังช่วยให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ชนิด Thyroxine (T4) อีกด้วย เราสามารถพบวิตามินบีได้ในไข่แดง เครื่องในสัตว์ ปลา ธัญพืชต่าง ๆ ถั่วลันเตา นม เห็ด เมล็ดอัลมอนด์

 

  • สังกะสี : เราควรได้รับประทานอาหารที่มีธาตุสังกะสีในปริมาณที่ร่างกายต้องการ หากเราขาดธาตุสังกะสี อาจทำให้เกิดภาวะไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism) หรือ ไฮเปอร์ไทรอยด์ (Hyperthyroidism) อาหารที่มีสังกะสีได้แก่ เนื้อแกะ เนื้อวัว ไก่งวง หอยนางรม ปลาซาดีน ธัญพืชต่าง ๆ เมล็ดทานตะวัน ถั่วพีแคน

 

  • สารต้านอนุมูลอิสระ : โดยเฉพาะวิตามินเอ วิตามินอี วิตามินซี ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญต่อต่อมไทรอยด์มาก เพราะนอกจากจะช่วยป้องกันต่อมไทรอยด์เสื่อมสภาพแล้ว ยังช่วยให้ต่อมไทรอยด์ต่อสู้กับภาวะการถูกทำลายด้วยอนุมูลอิสระอีกด้วย อาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงได้แก่ มันเทศ แคนตาลูป ปลา ตับ ผักกาดหอม แครอท ผักโขม ถั่วเลนทิล ถั่วเหลือง ถั่วขาว เครื่องในสัตว์

 

  • ธาตุเหล็ก : ควรรับประทานธาตุเหล็กให้เพียงพอ เพราะหากเราขาดธาตุเหล็ก ก็อาจทำให้การทำงานของต่อมไทรอยด์ลดลง ซึ่งอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงได้แก่ เครื่องในสัตว์ หอยนางรม ผักโขม ธัญพืชต่าง ๆ ถั่วเหลือง ถั่วขาว เมล็ดฟักทอง

 

อย่างไรก็ตาม แม้สารอาหารที่กล่าวไปข้างต้นจะมีประโยชน์ต่อต่อมไทรอยด์ แต่หากเราได้รับปริมาณที่มากเกินไปก็อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้เหมือนกัน ดังนั้นเราควรรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะกับร่างกาย และปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนรับประทานทุกครั้ง เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบกับโรคไทรอยด์ค่ะ

 

 

ผู้เขียน

ธมนวรรณ พรพาณิชเจริญ 

เภสัชกร

 

หากใครมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่อง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ยา และปัญหาเรื่องสุขภาพ สามารถปรึกษาเภสัชกรออนไลน์ได้ที่ ปวด ป่วย อาย จาม "ถามMacy" เรายินดีให้คําปรึกษาทุกปัญหาสุขภาพ

บทความการดูแลสุขภาพ